การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย

Main Article Content

นพสร ทานะขัน
ดารณี เอื้อชนะจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย 2) วิเคราะห์การตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย 3) วิเคราะห์การรับรู้ถึงประโยชน์   ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เนื้อหาในการศึกษา 2 ส่วน ได้แก่ ตัวแปรอิสระ อันประกอบด้วย ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และการตัดสินใจเลือกใช้ปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) ประกอบด้วย 1) ทัศนคติต่อการใช้ระบบซอฟต์แวร์  2) ความคาดหวังจากประสิทธิภาพของระบบซอฟต์แวร์ และความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) และตัวแปรตาม ได้แก่ การตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ ประกอบด้วย 1) การยอมรับระบบ 2) การยอมรับการใช้งาน วิธีการดำเนินงานศึกษา   มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ โดยไม่ทราบจำนวนบุคลากรที่แน่นอน จากการศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย จึงกำหนดกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรผู้ทำบัญชี (คงอยู่)  ในเขตกรุงเทพมหานคร และนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ทำบัญชีในสำนักบัญชีที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตกรุงเทพและนนทบุรี สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย  ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จำนวน 369 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า เป็นไปตามสมมติฐานและวัตถุประสงค์ในการวิจัย ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าการ รับรู้ถึงประโยชน์ ได้แก่ ด้านทัศนคติ ความคาดหวังต่อประสิทธิภาพของระบบซอฟต์แวร์ และความง่ายของการใช้งานส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ทานะขัน น. ., & เอื้อชนะจิต ด. . (2021). การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 221–231. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/256949
บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี สุขวาณิชย์ศิลป์. (2553). ทัศนคติต่อการยอมรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ FMS (Franchise Management System) บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน). ใน สารนิพนธ์ สาขาการบริหารเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธิดา เณรยอด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งกับสำนักงานบัญชีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2564 จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002020177_9235_9568.pdf

พณชิต กิตติปัญญางาม และคณะ. (2562). วิเคราะห์บทบาท AI ปัญญาประดิษฐ์ต่อสถานการณ์แรงงานไทยในอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2564 จาก https://ibusiness.co/detail/9620000097095

พิมพ์ปรีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2564 จาก file:///C:/Users/Hi_Noppasorn/Downloads/241602-Article%20Text-832232-2-10-20200514%20(1).pdf

ภัสรนันท์ ไพรสรรณ์. (2562). กระบวนตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีกับงานบัญชีของ นักบัญชีในกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2564 จาก https://mmm.ru. ac.th/MMM/IS/sun18/6214070106.pdf

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา สถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. ใน บัณฑิตวิทยาลัยสาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ศุภลัคน์ ดวงไชย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สําเร็จรูปของบุคคลวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2564 จากhttp://www.meabstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/view Index/47

สุนิสา อยู่เยาว์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ต่อการนำโปรแกรม SAP R/3 มาใช้ในระบบบัญชีลูกหนี้. ใน วิทยานิพนธ์ สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุภัสสรา คงชม. (2558). นวัตกรรมของเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. ใน ค้นคว้าอิสระสาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. 3 rd Ed. New York: Harper and Row Publications.