ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วันดี แก้วแสงอ่อน
อุทุมพร ดุลยเกษม
จิตฤดี รอดการทุกข์
ภาวดี เหมทานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความภาคภูมิใจในตนเอง ระดับภาวะซึมเศร้า ระดับคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอายุ 60 ปีขึ้นไป จํานวน 210 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ 2) แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย และ 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาก เท่ากับ .72, .88 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคะแนนเฉลี่ยความภาคภูมิใจในตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{x}= 3.31, S.D. = 0.45) ระดับภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับเล็กน้อย ( gif.latex?\bar{x}= 13.38, S.D. = 3.13) และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 113.54, S.D. = 10.23) ความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้า (r = - .52) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต (r = .43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเชิงลบ (r = -.17) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญในการพัฒนารูปแบบ การดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมืองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เพื่อลดการเกิดภาวะซึมเศร้าและทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

How to Cite
แก้วแสงอ่อน ว. ., ดุลยเกษม อ. ., รอดการทุกข์ จ. ., & เหมทานนท์ ภ. . (2021). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเขตเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 126–139. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/256929
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2563 จาก http://www.dop. go.th/th/khow/side/1/1/275

ชุติมา มาลัย และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39 (3), 67-76.

ญาดารัตน์ บาลจ่าย และคณะ. (2562). ประสบการณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังในสังคมเมือง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 9 (3), 351-364.

นริสา วงศ์พณารักษ์ และ สายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 64-70.

ประสมสุข สีแสนปราง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ : ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาล ศาสตร์และสุขภาพ, 41 (1), 129-140.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ และคณะ. (2556). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 6 (1), 27-37.

ภูริชญา เทพศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. กรุงเทพมหานคร: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา และ รังสิมันต์ สุนทรไชย. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30 (2), 69-82.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงศ์สิริ แจ่มฟ้า และคณะ. (2562). ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11 (2), 259-271.

วชิรญา จิตต์รุ่งเรือง. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศกุนตลา อนุเรือง. (2560). ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ: สถานการณ์ ประเด็นท้าทาย และการจัดการดูแล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29 (2), 1-14.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2563). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมฤดี บรรยงคิด และคณะ. (2561). อิทธิพลในความถี่ในการมาเยี่ยมของญาติ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลทหารบก, 19 (ฉบับพิเศษ), 269-275.

สุนิสา ค้าขึ้น และคณะ. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36 (3), 150-163.

สุพรรษา แสงพระจันทร์ และคณะ. (2559). การรับรู้ความหมายมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26 (2), 76-88.

สุมิตรพร จอมจันทร์ และคณะ. (2559). การสำรวจภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลชุมชน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 22 (1), 28-35.

อัญชลี พงศ์เกษตร และคณะ. (2562). ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา:กรณีศึกษาชุมชนผังเมือง 4. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(3), 14-26.

อารีย์ สงวนชื่อ และคณะ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในอำเภอวังน้อย จังหวัดนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14 (2), 277-287.

อุไรวรรณ ทัศนีย์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (1), (293-311).

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing(5th ed). New York: Harper and Row Publishers.

Gray-Little, B. et al. (1997). An Item Response Theory Analysis of the Rosenberg Self-Esteem Scale. Retrieved May 6, 2019, from http://dx.doi.org/10.1177/0146167297235001

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Steiger, G. et al. (2015). Testing the vulnerability and scar models of self-esteem and depressive symptoms from adolescence to moddle adulthood and across generations. Developmental Psychology, 51 (2), 236-247.

World Health Organization. (2006ข). WHOQOL- OLD manual world health organization European office. Retrieved January 28, 2020, from https://www.who.int/ mental_health/evidence/WHOQOL_OLD_Manual.pdf?ua=1

World Health Organization. (2019ก). Ageing. Retrieved January 28, 2020, from https://www.who.int/health-topics/ageing#tab=tab_1