ผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อมูลค่ากิจการ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการโดยวัดจาก Tobin’s Q และราคาหุ้นสามัญ โดยใช้รูปแบบงานวิจัยที่โดยการสังเกต ใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ผล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอและยังดำเนินกิจการอยู่โดยนำข้อมูลล่าสุด ไม่รวมกลุ่มธุรกิจการเงิน โดยเก็บข้อมูลงบการเงินของบริษัทที่มีข้อมูลครบทั้ง 3 ปีตั้งแต่ ปี 2560 - 2562 ได้ข้อมูลทั้งสิ้น 429 รายปีบริษัท (Firm Years) สถิติที่ใช้ในการทดสอบได้แก่ สถิติเชิงพรรณศึกษาจำนวนมากที่สุด และน้อยที่สุดของ ยอดขาย หนี้สิน และสินทรัพย์เปรียบเทียบกัน 3 ปี และสถิติเชิงปริมาณใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน มีผลการทดลองดังนี้อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีความสัมพันธ์กับมูลค่ากิจการโดยวัดจาก Tobin’s Q ในทิศทางตรงข้ามกัน และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นสามัญในทิศเดียวกัน ส่วนการทดลองด้วยใช้สถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า การวางแผนภาษีที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการที่วัดด้วย Tobin’s Q และราคาหุ้นสามัญ ในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนการวางแผนภาษีที่วัดด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง (ETR) อัตราภาษีต่อกำไรสุทธิ (Tax/Net Profit Margin) และอัตราภาษีต่อกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/OCF) มีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการที่วัดด้วย Tobin’s Q และราคาหุ้นสามัญ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
ฐิตราภรณ์ สวรรค์ตรานนท์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี SET100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดารานารถ พรหมอินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไรต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. ใน วิทยานิพนธิ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพมหานคร.
ธัญพร ตันติยวรงค์. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการหลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภัสสร กาพย์เกิด. (2559). ผลกระทบของการวัดผลการดำเนินงานโดยวิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและ วิธีอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย:กรณีศึกษาบริษัทกลุ่ม SET50. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รสนา โชติสุวรรณ และสุภา ทองคง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับราคาหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 14(1), 23-36.
ศศิวิมล เกิดมั่น. (2557). ความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการกับผลตอบแทนหลักทรัพย์และมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริการธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สัตยา ตันจันทร์พงศ์. (2561). ผลกระทบของการวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลกับมูลค่ากิจการ :หลักฐานเชิงประจักษ์ จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 42-57.
Armstrong et al. (2012). The incentives for tax planning. Journal of Accounting and Economics, 53(1), 391-41.
Chen, Z., et al. (2016). Corporate Tax Avoidance and Performance: Evidence from China’s Listed Companies. Institutions and Economies, 8(3), 61-83.
Santana, S, & Rezende, A. J. (2016). Corporate Tax Avoidance and Firm Value: Evidence.FromBrazil.Retrieved. Retrieved December 5, 2017, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?bstract_id=2803993
Wahab, N. S. A., & Holland, K. . (2012). Tax Planning, Corporate Governance and Equity Value. The British Accounting Review, 44(2), 111–124.