บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมการเผชิญความเครียด ในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Main Article Content

ปาริชาติ วันชูเสริม
อักษราณัฐ สุทธิประภา

บทคัดย่อ

การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในระยะตั้งครรภ์และจัดเป็นครรภ์เสี่ยงสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก และเป็นปัจจัยสาเหตุที่ทำให้สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เกิดความเครียดจากการที่ต้องเผชิญกับความต้องการและแรงกดดันตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยและตลอดการตั้งครรภ์ การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ การที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการได้รับการดูแลรักษาที่มากกว่าสตรีตั้งครรภ์ปกติ เมื่อเกิดความเครียดจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ และเมื่อสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความเครียดต้องมีการเลือกใช้การเผชิญความเครียดเพื่อลดความเครียดนั้น ซึ่งการเผชิญความเครียดแต่ละรูปแบบมีผลต่อสุขภาพทั้งของสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด สตรีตั้งครรภ์ที่เลือกใช้การเผชิญความเครียดรูปแบบวางแผนเตรียมการและรูปแบบใช้จิตวิญญาณเชิงบวก มีผลต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดด้านบวก ส่วนสตรีตั้งครรภ์ที่เลือกใช้การเผชิญความเครียดรูปแบบหลีกเลี่ยง จะส่งผลต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดด้านลบ จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นบทบาทสำคัญที่พยาบาลผดุงครรภ์ต้องให้การดูแลที่เหมาะสม บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และบทบาทพยาบาลผดุงครรภ์ ในการให้ความรู้ที่เหมาะสมและถูกต้องเกี่ยวกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ส่งเสริมความเข้มแข็งอดทน ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และลดความรู้สึกไม่แน่นอน เพื่อส่งเสริมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสมสำหรับสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Article Details

How to Cite
วันชูเสริม ป. ., & สุทธิประภา อ. . (2021). บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์ในการส่งเสริมการเผชิญความเครียด ในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(10), 75–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/256119
บท
บทความวิชาการ

References

กัณฐพร พงษ์แพทย์. (2559). ปัจจัยทำนายความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริชาติ วันชูเสริม. (2562). ความเข้มแข็งอดทน ความรู้สึกไม่แน่นอนและการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พินทร์พจน์ พรหมเสน. (2558). ความเข้มแข็งอดทน การสนับสนุนทางสังคมและความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งนภา โพธิ์แสน. (2560). ความเครียดที่เฉพาะกับการตั้งครรภ์ การสนับสนุนทางสังคมและการเผชิญความเครียดในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2557). แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2560 จาก http://203.157.39.7/imrta/images/cpg 20141120.pdf

American Diabetes Association. (2017). Standards of medical care in diabetes-2017. Diabetes Care, 40(1), 1-132.

Ashwal, E. & Hod, M. (2015). Gestrational diabetes mellitus: Where are we now. Clinica ChimicaActa, 9(2), 1-7.

Bellamy, L. et al. (2009). Type 2 diabetes mellitus after gestational diabetes: A systematic review and meta-analysis. The Lancet, 373(9677), 1773-1779.

Borders, A. E. B. et al. (2007). Chronic stress and low birth weight neonates in a low-income population of women. Journal of Obstetrics and Gynecology, 109 (2 Pt 1), 331-338.

Cashion, K. (2012). Endocrine and metabolic disorders in pregnancy. Maternity and Women's Health Care, 10(3), 688-707.

Cheng, M. D. et al. (2008). Gastational weight gain and gestational diabetes mellitus. Obstetrics and Gynecology, 112(5), 1015-1022.

Cunningham, F. et al. (2014). Williams obstetrics. (24th ed.). New York: McGraw-Hill.

Da Costa, D. et al. (2000). Psychosocial predictors of labor/deliverycomplications and infant birth weight: A prospective multivariate study. Journal of Psychosomatic Obstetrics and Gynecology, 21(3), 137-148.

Daniells, S. et al. (2003). Is a diagnosis associated with an increase in maternal anxiety and stress in the Short and intermediated term. Diabetes Care, 26(2), 385-389.

Division of Medical Record Siriraj Hospital. (2014). Faculty of medicine Siriraj hospital, Mahidol University. Statistical report. Bangkok: Siriraj Hospital.

Evans, M. K. & O’Brien, B. (2005). Gestational diabetes: The meaning of an at-risk pregnancy. Qualitative Health Research, 15(1), 66-81.

Gillbert, E. S. (2011). Manual of high risk pregnancy and delivery. (5th ed.). St. Louis: Mosby.

Gilmatin, A. B. (2008). Gestational diabetes mellitus. Journal of Obstetric and Gynecology, 1(3), 129-134.

Giurgescu, C. et al. (2006). Impact of uncertainly, social support, and prenatal coping on the psychological well-being of high-risk pregnancy woman. Nursing Research, 55(5), 356-365.

Hamilton, J. G. & Lobel, M. (2008). Types, patterns, and predictors of coping with stress during pregnancy: Examination of the revised prenatal coping inventory in a diverse sample. Journal of Psychosomatic Obstetrics and Gynecology, 29(2), 97-104.

Lazarus, R. S. & Folkman, S. (1984). Stress coping and appraisal. New York: Springer.

Mishel, M. H. (1988). Uncertainty in illness. Image: Journal of Nursing Scholarship, 20(4), 225-232.

Reece, E. A. et al. (2009). Gestational diabetes: The need for a common ground. The Lancet, 373(9677), 1789-1797.

Ren, J. et al. (2015). Depression, social support, and coping styles among pregnant woman after the Lushan earthquake in Ya an, China. PLOSE ONE, 10(8), 1-19.

Rojnawaseree, D. (2018). The Effect of Health Promotion and Spouse Support to the BloodGlucose Level and Health-Promoting Behaviors in Women at Risk of GestationalDiabetes Mellitus. Journal of Nursing, Public Health, and Education, 19(3), 47-58.

Sarani, A. et al. (2015). The relationship between psychological hardiness and coping strategies during pregnancy. Journal of Midwifery and Reproductive Health, 3(3), 408-417.

Wongchantara, T. et al. (2001). Self-esteemPerceived Benefits and Health-promoting Behaviors in Diabetic Pregnant Women. Christian University of Thailand Journal , 7(1), 45-58.