ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของบุคลากรโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

Main Article Content

ชยุต นิธิโชติการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม 2) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการทำงานเป็นทีม และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรประจำที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลทั้งหมด 47 โรงพยาบาลจำนวน 29,866 คนโดยคำนวณกลุ่มขนาดตัวอย่างใช้สูตรทาโร ยามาเน่ จำนวน 395 คนสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบค่าทีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียววิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ด้านบรรยากาศองค์การ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับมากมี 2 ด้าน คือ ด้านความผูกพันและด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ 2) บรรยากาศองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การทำงานเป็นทีมโดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .744 และ 3) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ คือ บรรยากาศองค์การโดยรวม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการทำงานเป็นทีม บรรยากาศองค์การด้านความรับผิดชอบ และบรรยากาศองค์การด้านความผูกพัน ตัวแปรทั้ง 4 ร่วมกันอธิบายผลการทำงานเป็นทีมได้ร้อยละ 58.8

Article Details

How to Cite
นิธิโชติการ . ช. . (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของบุคลากรโรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 266–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/255151
บท
บทความวิจัย

References

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. ใน สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารพยาบาล, 43. 117-127.

พระมหาไพสฐิ อภิชาโน (จะโต). (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามหลักไตรสิกขา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2). 1-11.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์.

วรรณภา โภคสมบัติ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลของทีม กรณีศึกษาพนักงานสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ABC จำกัด. ใน สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

วิภาวี ชมะโชติ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การและองค์ประกอบในการทำงานเป็นทีมของข้าราชการสำนักกรรมาธิการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5 (1). 230-238.

สมคิด ผลนิล. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบรรยากาศองค์การ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางงคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607-610.

Stringer, R. A. (2002). Leadership and Organizational Climate : The Cloud Chamber Effect. California: Prentice - Hall.