องค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

สุดารัตน์ พรหมแก้ว
เอกรินทร์ สังข์ทอง
ชวลิต เกิดทิพย์
ชิดชนก เชิงเชาว์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย มีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบปลายเปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเก็บข้อมูล 3 รอบ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ทรงคุณวุฒิแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ รอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยนำคำตอบจากรอบที่ 1 มาสร้างเป็นข้อคำถาม และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยนำผลจากรอบที่ 2 มาเพิ่มค่ามัธยฐานของน้ำหนักคะแนน จากคำตอบของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ช่วงพิสัยระหว่างควอไทล์ของคำตอบของกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และน้ำหนักคะแนนของคำตอบเดิมของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านได้ทราบคำตอบ และทบทวนคำตอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบด้วย  6 องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบย่อย 34 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบ ที่ 1 การขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาของผู้บริหาร มี 2 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาครูด้านสะเต็มศึกษา มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนการสอน สะเต็มศึกษา มี 3 องค์ประกอบย่อย 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 8 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 6 การนิเทศแบบร่วมพัฒนา มี 2 ตัวบ่งชี้

Article Details

How to Cite
พรหมแก้ว ส. ., สังข์ทอง เ. ., เกิดทิพย์ ช., & เชิงเชาว์ ช. . (2021). องค์ประกอบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 61–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/255006
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 15 กันยายน 2563 จาก https://www.saerhung.go.th/datacenter/doc_download/a_310717_125838.pdf

กัญญณัช สมัครกิจ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในสถานการณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิรประวัติ ศรีวัฒนทรัพย์. (2559). คู่มือนิเทศมุ่งพัฒนาครูคณิตศาสตร์เสริมศักยภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21. ราชบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.

ฉวีวรรณ พันวัน. (2552). การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการสอนแบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: จงเจริญการพิมพ์.

บุญเชิด สุขอภิรมย์. (2541). บทบาทของคณะกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนกับการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

มนตรี จุฬาวัฒนฑล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(185), 14-18.

รสริน พันธุ. (2562). รูปแบบการพัฒนาผู้นำครูสะเต็มศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. ใน ดุษฏีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ และอาทร นกแก้ว. (2563). STEM (ตอนที่ 1: อะไรและทำไม). เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2563 จาก http://www.ilearnsci.com/423522458

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารย์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วินัย ดิสสงค์. (2549). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.

สาวิตรี สิทธิชัยกานต์ และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์สะเต็มศึกษาภาค. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 17-32.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุดาวรรณ เครือพานิช. (2553). การเรียนรู้ผ่านกระบวนการค่าย. วารสารวิชาการ, 13(1), 16-19.

สุทธิดา จำรัส. (2559). สะเต็มศึกษาบนเส้นทางวิชาการรับใช้สังคม : จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สู่อนาคต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 35-36.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 237-250.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(186), 3-5.

อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูมัธยมศึกษาให้มีความสามารถด้านการออกแบบบทเรียน STEM Education โดยการศึกษาบทเรียนและเครือข่ายสังคมออนไลน์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Macmillan, T. T. (1971). The delphi technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California.