การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ การรับรู้และทัศนคติข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บแบบสอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.50 อายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 42.00 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 57.00 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 49.00 รายได้เฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 26.25 การเปิดรับข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 (ระดับปานกลาง) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 (ระดับมาก) มีการรับรู้หากกลับจากการเดินทางในพื้นที่ระบาด จะต้องกักตัว 14 วัน ในระดับมาก ทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 (ระดับปานกลาง) มีพฤติกรรมป้องกันโรคโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 (ระดับมาก) มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง ในระดับมาก 2) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทัศนคติต่อข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานรัฐมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กมลชนก สาระศาลิน. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (2563). จดหมายเหตุ COVID-19 : รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ. (2563). แนวปฏิบัติสำหรับการแยกเพื่อสังเกตอาการ ณ ที่พักอาศัย (Self-Quarantine at Home) (Online). เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/
ณัฐพล วัฒนะวิรุณ. (2560). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่น ของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานี กล่อมใจและคณะ. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. ใน รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
ยรรยง สินธุ์งาม. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem – based Learning (PBL). เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 จาก http://www.vcharkarn.com
ศศิธร เดชารัตน์. (2560). ความคาดหวังประโยชน์ การเปิดรับ และทัศนคติ ที่มีต่อข้อมูลข่าวสาร บนเฟซบุ๊กแฟนเพจด้านสุขภาพ. ใน วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิธาพิสุทธิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2558). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). การใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Online). เรียกใช้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.etda.or.th/th /newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx/
Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques. (2nd Ed.). New York: John Wiley & Sons,Inc.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
World Health Organization. (2563). Novel Coronavirus-China (Online). Retrieved May 13, 2021, from https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2020-DON233/