การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา ในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน

Main Article Content

เตือนใจ เขียนชานาจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน 2) ศึกษาอิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่เรียนในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 347 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า    1) การยอมรับเทคโนโลยีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย การรับรู้ถึงประโยชน์,  การรับรู้ความยากง่าย, และการรับรู้ถึงความเสี่ยง และความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน, เนื้อหาหลักสูตร, สื่อการเรียนการสอน, และการบริหารและการจัดการการสอนแบบออนไลน์ 2) อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน มากที่สุด คือ การรับรู้ถึงประโยชน์ (b = .339) การรับรู้ความยากง่าย (b = .269) และการรับรู้ถึงความเสี่ยง (b = .268) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของนักศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกันมีความพึงพอใจในระบบการศึกษาทางไกลรูปแบบออนไลน์มหาวิทยาลัยเอกชนไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตาม กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กัลยา วานิชบัญชา. (2552). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขนิษฐา แก้วเอียด. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาภาคสมทบต่อการจัดการเรียน ในวิทยาลัยนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558. ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: ภาคโปสเตอร์.

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียน ของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 158-166.

ชีวรัตน์ ชัยสำโรงการ. (2562). ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการเรียนภาษาผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทมหานครและปริมณฑล. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 5(2), 25-42.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพเดช อยู่พร้อม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบ eDLTV ของบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

พรศักดิ์ หอมสุวรรณ และคณะ. (2560). ระดับความพึงพอใจระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านกูเกิ้ลคลาสรูม ภายในวิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 4 (237 - 243). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ภานุกร เตชะชุณหกิจ และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2562). ศึกษาอิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 306-321.

มนตรี สังข์ทอง และคณะ. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิที่มีต่อการเรียนการสอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 67-79.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชัย ทาก๋อง. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOC) ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อาทิตย์ เกียรติกำจร และภูมิพร ธรรมสถิตเดช. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี: กรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยี Interactive Whiteboard ในการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกราช เครือศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 25(32), 202-209.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.