ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน ทางบัญชี ของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทราพร อุระวงษ์
เบญจพร โมกขะเวส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 397 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อบรรยายลักษณะของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชี โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า การปรึกษาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุป การทำงานเป็นทีม และการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการสื่อสาร มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความทันกาลและตรงต่อเวลา ด้านความถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน ด้านความครบถ้วนและด้านความเชื่อถือได้ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการนำเสนอ มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความทันกาลและตรงต่อเวลา ด้านความครบถ้วนและด้านความเชื่อถือได้ แต่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความทันกาลและตรงต่อเวลา อย่างไรก็ตาม การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการนำเสนอ ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชี ด้านความถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน

Article Details

How to Cite
อุระวงษ์ ภ. . ., & โมกขะเวส เ. . (2021). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน ทางบัญชี ของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 282–295. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254303
บท
บทความวิจัย

References

กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จิตติมา ขำดำ. (2560). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.

ชลมาศ เทียบคุณ. (2562). สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคใต้. ใน สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฎฐณิชา คล้ายแก้ว. (2562). ผลกระทบสมรรถนะของผู้สอบบัญชีและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธกรศักดิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก. ใน สารานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญช่วง ศรีธรรมราษฎร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดร้อย. ใน สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญช่วง ศรีธรรมราษฎร์. (2561). ผลกระทบของความชำนาญในวิชาชีพบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทกลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(2), 103-124.

เบญจวรรณ แจ่มจารุญ. (2557). ปัจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร และสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทเอกชนในเขต กรุงเทพมหานคร. ใน สารานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และสุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร: กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 3374-3394.

พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(1), 196-207.

แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตนดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน). ใน สารานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มธุรส สุขพงษ์. (2547). การสื่อสารภายในองค์กร: กรณีศึกษาบริษัท ควิก พีซี เน็ตเวิรค์ จำกัด. ใน สารนิพนธ์วารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วราภรณ์ ชัชกุล. (2560). ผลกระทบมาตรฐานการปฏิบัติงาน จรรยาบรรณในวิชาชีพบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออก. ใน สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี. มหาวิทยาศรี.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). รายงานประจำปี. เรียกใช้เมื่อ 16 ตุลาคม 2563 จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66553

สมชาย เรืองวงษ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮิตาชิคอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2552). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 12 ปี (พ.ศ. 2552-2563) กรุงเทพฯ มานครแห่งความน่าอยู่อย่างยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด.

Yamane, t. (1973). Statistic: An introductory Analysis. (3 ed.). New York: Harper and Row Publications.