การศึกษาข้อมูลการใช้งานเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา อุณหภูมิ และความชื้น ปัจจัยที่มีผลต่อแถบทดสอบ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ทิพวรรณ แสงแก้ว
นภาพร อภิรัฐเมธีกุล
ครรชิต คงรส
สุนารี เวคินหิรัญ
วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลการใช้งานเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในจังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ใช้เก็บแถบทดสอบน้ำตาล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง ในจังหวัดพิษณุโลก โดยสำรวจข้อมูลการใช้งานเครื่องตรวจน้ำตาลชนิดพกพาและการเก็บแถบทดสอบด้วยแบบสอบถามในบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 143 แห่ง  ในจังหวัดพิษณุโลก และการเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นบริเวณที่ใช้เก็บแถบทดสอบน้ำตาล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย 1) พบว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งหมด 143 แห่งในจังหวัดพิษณุโลกตอบแบบสอบถามออนไลน์กลับ จำนวน 45 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 31 โดยทั้ง 45 แห่ง มีการใช้งานเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา ร้อยละ 100 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นพยาบาล เพศหญิง อายุ 41-51 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี มีการควบคุมคุณภาพภายใน โดยส่วนใหญ่ทำ 1 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 78  และเข้าร่วมการประเมินคุณภาพภายนอก ร้อยละ 73 สำหรับการเก็บแถบทดสอบพบว่า ร้อยละ 88.9 เก็บในห้องที่ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศหรือในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศเป็นช่วงเวลา 2) ผลการเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์  ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกที่ใช้เก็บแถบทดสอบ พบว่า ร้อยละ 60 (3 ใน 5 แห่ง) มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส โดยบางสัปดาห์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 30.3  องศาเซลเซียส และค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์สูงถึงร้อยละ 62.6

Article Details

How to Cite
แสงแก้ว ท. . ., อภิรัฐเมธีกุล น. ., คงรส ค. ., เวคินหิรัญ ส. ., & ตรีบุพชาติสกุล ว. . (2021). การศึกษาข้อมูลการใช้งานเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา อุณหภูมิ และความชื้น ปัจจัยที่มีผลต่อแถบทดสอบ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 267–281. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254302
บท
บทความวิจัย

References

จุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ และคณะ. (2558). แนวทางการทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วยสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐชา เอื้อกาญจนานันท์ และคณะ. (2561). การศึกษาข้อมูลการตรวจวัดน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลักการ ตรวจและเทคโนโลยี. วารสารเทคนิคการแพทย์, 46(1), 6326-37.

วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล. (2563). การเตรียมวัสดุเลือดครบส่วนเพื่อการประเมินคุณภาพเครื่องตรวจวัด น้ำตาลในเลือดแบบพกพา. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม จี. เพอร์มาเน้นท์.

สภาเทคนิคการแพทย์. (2555). คู่มือการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา (Blood Glucose Meter). เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จาก http: //www. mtcouncil. org/content/522.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สถิติอุณหภูมิ กรมอุตุนิยมวิทยา. เรียกใช้เมื่อ 29 เมษายน 2564 จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries27.html.

Cluster of Primary Health System Support. (2019). Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Guidelines for the standard development of sub-district Health Promoting Hospitals. Bangkok: Ministry of Public Health.

Food and Drug Administration. (1999). Find product information. Retrieved November 3, 2020, from https://www.fda.moph.go.th/sites/fda_en/Pages /Main.aspx

ISO 15189. (2012). Medical Laboratories Requirements for quality and competence. Retrieved May 31, 2021, from https://www.iso.org/standard/ 56115.html

Kost, GJ. (2002). Principles and Practice of Point-of-Care Testing. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Krejcie, RV. & Morgan, DW.,. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement (EPM), 30, 607-10.

Lam, M. et al. (2014). Short-term thermal-humidity shock affects point-of-care glucose testing. Journal of diabetes science and technology, 8,(1) 83-88.

Meteorological Department. (1994). Relative humidity. Retrieved April 30, 2021, from http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=56

Niamthong N. (2018). Humidity measurement. Retrieved April 23, 2021, from https://www.scimath.org/articlescience/item/7756- 2017-12-04-07-53-19 (inThai).

Pratumvinit, B. et al. (2016). The effect of temperature and relative humidity on point-of-care glucose measurements in hospital practice in a tropical clinical setting. Journal of diabetes science and technology, 10,(5) 1094-1100.

Senin, J. (2019). Simple determinations of the BTU of air conditioners. Retrieved April 23, 2021, from http://ome.rid.go.th/engineering /main/index.php/12-2017-07-20-07-11- 11/21-2019-01-14-05-42-38