การพัฒนานิยายสนทนาออนไลน์ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมสำหรับผู้อ่านนิยายสนทนาออนไลน์

Main Article Content

ศิรินทิพย์ ยอดเสน่หา
พัชรา วาณิชวศิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานิยายสนทนาออนไลน์ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง 2) เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อนิยายสนทนาออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้อ่านที่ลงทะเบียนเข้าอ่านนิยายสนทนาออนไลน์ จำนวน 30 คน โดยเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) นิยายสนทนาออนไลน์ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง 2) แบบประเมินคุณภาพของนิยายสนทนาออนไลน์ 3) แบบวัดความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อนิยายสนทนาออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานิยายสนทนาออนไลน์ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่องมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เลือกหัวข้อเรื่อง 2) วางโครงเรื่อง 3) วางตัวละครและกำหนดคุณลักษณะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 4) เขียนเล่าเรื่องในรูปแบบนิยายสนทนาออนไลน์ 5) เผยแพร่นิยายสนทนาออนไลน์ไปยังกลุ่มผู้อ่าน มีจำนวนทั้งหมด 11 ตอน ผลการประเมินคุณภาพของนิยายสนทนาออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.21) และได้แนะนำให้ปรับบทสนทนาให้กระชับ ปรับเปลี่ยนข้อความไม่ให้เป็นเชิงวิชาการ และเพิ่มเติมบทบรรยายเพื่อแบ่งตอนให้ชัดเจน ผลการเปรียบเทียบความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพบว่า หลังอ่านมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อนิยายสนทนาออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.68) โดยผู้อ่านมีความคิดเห็นว่า นิยายสนทนาออนไลน์เป็นสื่อนำเสนอความรู้แปลกใหม่ ได้รับความบันเทิงควบคู่ความรู้ และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา

Article Details

How to Cite
ยอดเสน่หา ศ. ., & วาณิชวศิน พ. . (2021). การพัฒนานิยายสนทนาออนไลน์ผ่านเทคนิคการเล่าเรื่อง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมสำหรับผู้อ่านนิยายสนทนาออนไลน์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 226–239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254294
บท
บทความวิจัย

References

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธาการ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัตติกา (นามแฝง). (2562). นิยายแชทจากจอยลดา. เรียกใช้เมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://www.allmagazineonline.com/นิยายแชทจากจอยลดา

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2555). การประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. จุลสารนวัตกรรม, 7(26), 5-8.

จริยา พิชัยคำ. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 1-12.

ชญาณี ฉลาดธัญญกิจ. (2561). จอยลดา แอปพลิเคชันนิยายแชตออนไลน์ โฉมหน้าใหม่ของวรรณกรรมไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 14(23), 59-65.

ชีพธรรม คำวิเศษณ์. (2560). อ่านดิจิตอล อ่านสไตล์โซเชียลมีเดีย อ่านผ่านแอพ. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2563 จาก https://columnist.smartsme.co.th/tri333/1374

ธนกฤตา แจ่มด้วง. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลับศิลปากรตามนโยบายประเทศไทย 4.0. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 5(2), 146-160.

นฤมล บุญส่ง. (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silapakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2873-2885.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนานิยายโดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเป็นเครื่องมือจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในรายวิชาการจัดการความรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2), 281-292.

พิชญา ดีมี และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(2), 139-153.

พิชากรณ์ เพ่งพิศ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์. (2560). “แฮปติค ทัช” เทคโนโลยีแห่งสัมผัส. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2563 จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_415000

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2557). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ประกันคุณภาพกรศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ.

รัชชานนท์ จิตรีสรรพ และนรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2562). อนุภาคและแบบเรื่องของเรื่องเล่าสยองขวัญสมัยใหม่ในแอปพลิเคชันจอยลดา. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562 (1707-1718). มหาวิทยาลัยรังสิต.

วอยซ์ ทีวี (Voice TV). (2560). เปิดจักรวาลของ 'จอยลดา' แอปฯ นิยายแชตแหกขนบที่มิลเลเนียลไทยอ่านกันสนั่นเมือง. เรียกใช้เมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://www.voicetv.co.th/read/536854

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนธิสดศรี-สฤษดิ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). การอ่านหนังสือนวนิยาย สำคัญต่อการพัฒนามนุษย์อย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639430

วิภาดา แหวนเพชร. (2560). Joylada แชตกับผู้ออกแบบแอพพิลเคชันอ่านนิยายแชตเจ้าแรกของไทยที่มาแรงแซงทุกโค้งในกลุ่มวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 29 ธันวาคม 2562 จาก https://readthecloud.co/scoop-25/

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สิริกร ทองมาตร. (2561). อ่าน "ฟิค" บนสื่อดิจิทัล: ชาติพันธุ์วรรณนาของแฟนอิคชันศิลปินเกาหลี. ใน วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุศยวิทยาหมาบัณฑิต สาขามานุษยวิชา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริวรรณ โพธิ์ทอง และวนิดา อัญชลีวิทยกุล. (2561). การใช้การสอนแบบเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14 (2), 145-154.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้าง EQ ให้ลูกคุณ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวจำกัด.

Partnership for 21st Century Learning. (2011). Framework for 21st Century Learning. Retrieved 30 March, 2020, from http://www.p21.org/storage/documents /1._p21_framework_2-pager.pdf

Vanichvasin, P. (2017). The Development of a Novel using Storytelling Technique as a Knowledge Management Tool to Promote Student Learning in Knowledge Management Subject. Journal of Education: Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 18 (2), 281-292.

Vanichvasin, P. (2018). The development of a novel using storytelling technique as a learning tool in promoting student engagement and satisfaction. In Proceedings of ACE2018: The Asian (243-249) Conference on Education. Japan.