การพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ เพื่อยกระดับการให้บริการ สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน

Main Article Content

เบญจรัตน์ ศิริชู
เที่ยงธรรมสิทธิ จันทเสน
นิคม ลนขุนทด
อัษฎา วรรณกายนต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการให้บริการและความต้องการแอปพลิเคชันในการให้บริการสถานตรวจสภาพรถของผู้ประกอบการและผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ เพื่อยกระดับการให้บริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการและผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชนในประเทศไทย จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถาม ข้อมูลถูกนำมาสรุปเพื่อนำไปสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ จากนั้นนำผลสรุปที่ได้ไปพัฒนาและหาประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นธุรกิจตรวจสภาพรถ โดยพัฒนาแอปพลิเคชันตามหลักการออกแบบและการพัฒนาระบบวงจร 7 ขั้นตอน ประกอบด้วยการวิเคราะห์กิจการ การระบุปัจจัยของความสำเร็จ การวิเคราะห์ระบบงาน การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ การทดสอบระบบ และการบำรุงรักษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของผู้ประกอบการและผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.29 และความต้องการของผู้ประกอบการและผู้รับบริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.642) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ เพื่อยกระดับการให้บริการสถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.45

Article Details

How to Cite
ศิริชู เ. ., จันทเสน . เ. ., ลนขุนทด น. ., & วรรณกายนต์ อ. . . (2021). การพัฒนาแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ เพื่อยกระดับการให้บริการ สถานตรวจสภาพรถยนต์เอกชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 210–225. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254278
บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2560). รายงานประจำปี 2560. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2562 จาก https://www.dlt.go.th/site/roiet/m-news/2495

คฑาวุธ ถวัลย์วิลาสวงศ์ และคณะ. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นในการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลเกาะแต้ว. ใน รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ณฤทธิ์ จึงสมาน. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. ใน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

นิคม ลนขุนทด และคณะ. (2563). การสำรวจความต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผักอินทรีย์ของผู้บริโภค. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์" ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

ระวีวรรณชินะตระกูล. (2535). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สมเกียรติ ช่อเหมือน และคณะ. (2557). การพัฒนาแอนดรอยด์แอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก, 9(1), 49 - 60.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม และคณะ. (2560). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 114-120.

อัษฎา วรรณกายนต์ และคณะ. (2562). แอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเศรษฐกิจ ชุมชนและสินค้าโอทอป จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 41(1), 85-100.

อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). ทำการตลาดออนไลน์ด้วยกูเกิ้ลพลัส. (พิมพ์ครั้งที่) 1. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2547). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.