การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

สุจันทร์ญา อุปแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรม 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรม 4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 48 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมพบว่า ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เห็นสมควรให้มีการพัฒนาบทเรียนชุดกิจกรรม 2) ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม พบว่า คุณภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 86.78/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรม พบว่า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.745 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.50 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.07 และร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 94.79 4) ผลการประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อุปแก้ว ส. . . (2021). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 191–209. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254277
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร กวานสุพรรณ. (2547). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยอดชาดวิทยา สํานักงาน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรรณิกา อุดหนุนกาญจน์. (2553). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพรรณไม้ในวรรณคดีไทยตามรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตรา ดวงปรีชา และคณะ. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียนสะกดคำและการเข้าใจความหมายของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(6), 83-94.

ทิพปภา ศิริธีรพันธ์. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วนแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง จำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนโรงเรียนเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บำรุงศักดิ์ บูระสิทธ์. (2548). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). ารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51.

ฝ่ายวิชาการ. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ขอนแก่น: โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

มะลิ ศรีสารคาม. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร: นครปฐม.

สันติภาพ อุดมมงคล. (2550). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเรื่องการผลิตพืชสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุพรรณ เกียรติเจริญ. (2547). การสร้างชุดกิจกรรมแบบศูนย์การเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องสิ่งเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิต.