กลยุทธ์เพื่อพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีวิจัยแบบพหุระยะ เน้นข้อมูลเชิงปริมาณ มากกว่าเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ครูมัธยมศึกษา จำนวน 143,691 คน จาก 42 เขตการศึกษาทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูมัธยมศึกษา จำนวน 450 คน การสุ่มตัวอย่าง คือ Stratified random sampling สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมิน 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบบันทึกสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนี PNI ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะกรอบความคิดแบบเติบโต ได้แก่ 1.1) ความเชื่อในการทำงานอย่างหนักโดยใช้ความรู้ความสามารถทักษะที่มีอยู่ 1.2) มีความตั้งใจต่อสู้และมุ่งมานะจากความผิดหวัง1.3) มีความเชื่อมั่นในการใช้ความพยายาม 1.4) กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลง 1.5) สามารถควบคุมอารมณ์ในการปฏิบัติงานได้ดี 1.6) แสวงหาแรงบันดาลใจโดยใช้การเรียนรู้จากความพยายาม 1.7) การรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นเพื่อเรียนรู้และปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 2) มีสภาพปัจจุบัน ปานกลาง มีสภาพที่พึงประสงค์ มากที่สุด 3) กลยุทธ์การพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู คือ 3.1) การพัฒนาครูในระหว่างการปฏิบัติงานโดยไม่ผ่านระบบออนไลน์ 3.2) การพัฒนาครูนอกการปฏิบัติงานแบบออฟไลน์ 3.3) การพัฒนาครูในระหว่างการปฏิบัติงานแบบออนไลน์ 3.4) การพัฒนาครูนอกเวลาการปฏิบัติงานแบบออนไลน์ 3.5) การพัฒนาครูในรูปแบบผสมผสาน
Article Details
References
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าว ฟ่าง.
เนตรนิยมาศ วรรณพยันต์. (2560). วิถีครูกับการพัฒนากรอบความคิดศิษย์. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(2), 185-195.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2560). เอกสารประกอบการดำเนินการพัฒนาตามหลักสูตรพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษา: วางแผนเสริมสร้างประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
ไพโรจน์ เนียมนาค. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์จิตวิทยาการศึกษามูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). บทเส้นทางสร้างคนดี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. ความเชื่อมั่นครูไทย. (2563). ความเชื่อมั่นครูไทย ปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 28 มีนาคม 2563 จาก http://www.naewna.com/local/466370
Dweck, C. S. (2017). Mindset. London: Constable & Robinson Ltd.
Hattie, J. (2012). Visible Learning for Teachers: Maximizing Impact on Learning. London: Routledge.
Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. 3 rd Ed. New York: Harper and Row Publications.