ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อ ผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

Main Article Content

สุวัจนี เพชรรัตน์
ฟาริดา ซาชา
ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของ แอปพลิเคชันสั่งอาหาร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหาร 3) เพื่อเปรียบเทียบการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร โดยจำแนกตามชนิดของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหาร จำนวน 400 คน และใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย  ซึ่งเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์สูงที่สุด 2) พฤติกรรมในการสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหาร ส่วนใหญ่มีการเลือกใช้ Application Food Panda ในการสั่งอาหาร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 50-100 บาทมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ และนิยมใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในการสั่งอาหารในช่วงเวลา 10.01-12.00 น. มากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร จำแนกตามชนิดของแอปพลิเคชันสั่งอาหาร พบว่า โดยภาพรวมผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารต่างกันจะมีการให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
เพชรรัตน์ ส. ., ซาชา ฟ. . ., & รอบคอบ ณ. . . (2021). ส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อ ผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 61–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254265
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจร้านอาหารประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก https://www.dbd.go.th/download/docu ment_file/Statisic/2562/ T26/T26_201902.pdf

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชเนศ ลักษณพันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่ง อาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.

ธนรัตน์ ศรีสาอางค์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านเว็บไซต์. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). จับตาปี 60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery โตร้อยละ 11-15 สวนทางภาพรวมธุรกิจร้านอาหารที่เติบโตเพียงเล็กน้อย. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก https://www.kasikornresearch.com/InfoGraphic/ Documents/2797_p.pdf

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). ETDA เผยมูลค่า e-Commerce ไทยโตต่อเนื่อง ยอดปี 2561 พุ่งสูง 3.2 ล้านบาท. เรียกใช้เมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก https://www.thansettakij.com/content/tech/383610

สุรภี ฤทธิ์มาก. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ฟู้ด (Line Food Application) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fraen8el, R. J., & Wallen, E. N. (2006). How to design and evaluate research in education 6th ed. Boston: McGraw – Hill.

Jacops, L. C. (1991). Test Reliability.IU Bloomington Evaluation Services and Testing (Best). Indiana : Indiana University Blomington.