โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

สุภาวดี เสนภูงา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ และ 2) พัฒนาโปรแกรมในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ จำนวน 205 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครูคณิตศาสตร์ที่เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ มีองค์ประกอบ คือ 2.1) หลักการ 2.2) จุดประสงค์ 2.3) เนื้อหามี 4 Module ประกอบด้วย คือ การออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2.4) วิธีการพัฒนา ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการและการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2.5) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม การประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม ผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากสุด

Article Details

How to Cite
เสนภูงา ส. . (2021). โปรแกรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 172–184. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/253515
บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา . มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิริยาสาสน.

ไพศาล เครือแสง. (2556). เทคนิคการสอนเชิงรุก เรียนรู้ประสบการณ์จาก Shelton College Internation ประเทศสิงคโปร์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิชัย เสวกงาม. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. เรียกใช้เมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก http://fs.libarts.psu.ac.th/ webcontent/KM/01%20KM-Active%20Learning.pdf.

วิริญญ์ แวงโสธรณ์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศราวุฒิ สนใจ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. (2558). การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย การพัฒนา - ผลกระทบ – ภาวะถดถอยในปัจจุบัน. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2563 จาก https://library.ipst.ac.th/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2558). แนวการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2563 จาก http://www.surin3.go.th.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2563 จาก http://www.secondary35.go.th/wp-content/uploads/2019/12/book10-62.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2563 - 2565. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2563 จาก https://sites.google.com/a/ secondary33.go.th/plan33/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น Needs Assessment Research. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barr, M.J. and L.A. Keating. (1990). Developing Effective Student Services Programs: Systematic Approaches for Practitioners. California: Jossey - Bass.

Shenker, J, I. et al. (1996). nstructor’s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. Retrieved May 5, 2020, from http://s.psych/uiuc,edu/~jskenker/active.html.