ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับรถผิดกฎหมายจราจรบนทางหลวงแผ่นดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมขับรถผิดกฎหมายจราจรของผู้ขับรถบนทางหลวงแผ่นดิน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมขับรถผิดกฎหมายจราจรของผู้ขับรถบนทางหลวงแผ่นดิน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการขับรถผิดกฎหมายบนทางหลวงแผ่นดิน เป็นการวิจัย ผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มประชากรผู้ใช้ทางหลวงแผ่นดินซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนโดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 2 3 และ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง t - Test, F – Test (ANOVA) chi2 และวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการขับรถผิดกฎหมายจราจร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และพฤติกรรมขับรถแบบเสี่ยง โดยพบว่า ร้อยละ 72.1 เคยขับเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และมีพฤติกรรมขับรถแบบเสี่ยงระดับปานกลาง 2) ผลการวิเคราะห์ Chi2 t - Test F Test พบว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดและพฤติกรรมขับรถแบบเสี่ยง ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การขับรถ ประวัติการได้รับใบสั่งในรอบ 3 ปี ผลการวิเคราะห์ MRA พบว่า การคาคการณ์เชิงบวก และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมขับรถแบบเสี่ยง 3) ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มาตรการลงโทษที่เหมาะสม ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น งานวิจัยให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การนำไปปฏิบัติ และการวิจัยในอนาคต
Article Details
References
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2554). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: แนวการศึกษา ชุดวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง หน่วยที่ 5 สาขาวิชานิติศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุทัยธรรมาธิราช.
ธนาภรณ์ ติยะบุตร และคณะ. (2558). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ใน การฝ่าสัญญาณไฟแดง. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 8 - 10 กรกฎาคม 2558 จังหวัดชลบุรี. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
นัทธี จิตสว่าง. (2541). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.
นิภา เสียงสืบชาติ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเลิดสิน. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บีบีซี เวิลด์ นิวส์ (BBC). (2561). WHO: อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตมากที่สุด ส่วนไทยครองแชมป์อัตราการตายบนถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? เรียกใช้เมื่อ 5 พฤษภาคม 2563 จาก https://www.bbc.com/thai/international-46545106
ปัญญ จันทรสุขโข. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทาผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 51-60.
พิชญ์สินี กุลเอกสรชา และคณะ. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็วและพฤติกรรมการขับขี่บนถนนชานเมืองจังหวัดชลบุรี. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563 จ.ชลบุรี. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.).
วัชรพล อิ่มจรูญ. (2547). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
หน่วยวัดความปลอดภัยทางถนน. (2564). สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนในภาพรวม. เรียกใช้เมื่อ 25 เมษายน 2564 จาก http://trso.thairoads.org
Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In Kuh, J. & Beckmann, J. (Ed). Action Control (pp. 11-39). Heidelberg, Germany: Springer-Verlag.
Bjornskau, T. et al. (1992). Can road traffic law enforcement permanently reduce the number of accidents? Accid Anal & Prev, 24(5), 507-520.
Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Cornish, D. et al. (1987). Understanding crime displacement: an application of rational choice theory. Criminology, 25(4), 933–947.
Eyal, P. (2010). Speeding and the time-saving bias: How drivers’ estimations of time saved in higher speed affects their choice of speed. Accident Analysis and Prevention, 42(2010). 1978-1982.
Martinussena, L. et al. (2013). Age, gender, mileage and the DBQ: The validity of the Driver Behavior Questionnaire in different driver groups. Accident Analysis and Prevention, 52(2013), 228-236.
Rosli, N. et al. (2017). Testing the Driving Behavior Questionnaire (DBQ) on Malaysian Drivers. The Proceeding of the 12th Malaysian Universities Transport Research Forum Conference (MUTRFC 2017). In Conjunction With 4th Agkn On Tour 15. Universiti Teknologi Mara, Selangor.
Warner, H. et al. (2010). Can the traffic locus of control (T-LOC) scale be successfully used to predict Swedish drivers’ speeding behavior? Accident Analysis and Prevention, 42(2010), 1113-1117.