การประเมินความเปราะบางของครัวเรือนต่อการจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม: ชุมชนหมู่ 1 พัฒนา เทศบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบความเต็มใจให้ความร่วมมือต่อการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมระหว่างครัวเรือนที่มีความเปราะบางแตกต่างกัน, 2) จัดทำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่สอดคล้องกับประเด็นความเปราะบางของครัวเรือน เป็นการวิจัยรูปแบบการสำมะโน (census) ซึ่งเหมาะกับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก วิธีดำเนินการวิจัย โดยการแจกแบบสอบถาม ในชุมชนหมู่1พัฒนา อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จากกลุ่มตัวอย่าง 231 ครัวเรือน สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวน 111 ครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีทางสถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอ้างอิงหรือสถิติเชิงอนุมาน เช่น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง (t - test) ผลการวิจัยพบว่า ความเปราะบางของครัวเรือนที่สอดคล้องต่อการบริหารจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้ทราบว่า ความเปราะบางทางสังคมในประเด็นช่องทางการติดตามข่าวสาร มีความเปราะบางมากที่สุดของครัวเรือน ส่งผลต่อการจัดการศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยมีระดับความเต็มใจให้ความร่วมมือ ในประเด็น การหาจุดหลับนอน, การหาพื้นที่แยกสมาชิกกลุ่มเปราะบางไม่ให้ปะปนกัน, การหาพื้นที่แยกผู้ป่วยโรคติดต่อเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไปยังบุคคลอื่น, และการหาพื้นที่จุดโรงครัวสำหรับการปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะและพื้นที่มีความสะอาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ การส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนให้เข้าสู่ออนไลน์ เช่น เปิดเพจเฟสบุ๊กของชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารในการเตือนภัยพิบัติ และสามารถเป็นช่องทางในการส่งเสริมการงานและอาชีพ เช่น การนำสินค้าในชุมชนมาขายผ่านเพจเฟสบุ๊กชุมชน เป็นต้น
Article Details
References
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองบ้านไผ่. (2563). แผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2563. จังหวัดขอนแก่น: เทศบาลเมืองบ้านไผ่ .
คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2558). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
จิราพร นนยะโส. (2556). การจัดการที่อยู่อาศัยในภาวะอุทกภัย กรณี:ศึกษาโครงการบ้านพฤกษา 11 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี. ใน เคหพัฒนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาฮีดา วิริยาทร และคณะ. (2561). ความเปราะบางต่อความยากจนของครัวเรือน: กรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี พ.ศ.2554 ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(1), 58-87.
มุทริกา พฤกษาพงษ์ . (2559). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เวิร์ค พริ้นติ้ง จำกัด.
มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ. (2560). การสังเคราะห์องค์ความรู้และสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็นสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง. ใน รายงานการวิจัย. มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ.
ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกรและ อันธิกา สวัสดิ์ศรี. (2556). การจัดการน้ำท่วมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนรายได้น้อย. วารสารนักบริหาร, 33(4), 72-85.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). สรุปสถานการณ์อุทกภัยของประเทศไทย พ.ศ.2552 - พ.ศ.2561. เรียกใช้เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563 จาก http://statbbi.nso.go.th/ staticreport/page/sector/th/21.aspx
อเนกพล เกื้อมา และคณะ. (2555). ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ของประชาชนใน5จังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Shi, H. et al. (2020). Advances in flood early warning: Ensemble forecase. formationdissemination and decision - support systems,Hydrology, 7(3), 1-3.
Torsten, J. (2020). MUNICH RE. Retrieved December 5, 2020, from https:// www.munichre.com/en/company/media-relations/media-information-and-corporate-news/media-information/2020/natural-disaster-figures-first-half-2020.html