ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้สถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง ของนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์ฉุกเฉิน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยในแต่ละระยะใช้การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental study) วัดผลก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ของโปรแกรมในแต่ละระยะวิธีการดำเนินการวิจัยของการศึกษานำร่องครั้งนี้ ศึกษาในนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม 2562 – เมษายน 2563 โดยใช้ 1) การตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเพื่อประเมินทัศนคติต่อการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และประเมินความรู้เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน 2) จัดกิจกรรมตามโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับสถานการณ์จริง 3) แบบประเมินสมรรถนะในการให้บริการทางแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งประเมินโดยผู้ปฏิบัติงานในระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ใช้สถิติพรรณนาและศึกษาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi square และ Fisher’s exact test ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม นักศึกษามีทัศนคติต่อการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และความรู้เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยทัศนคติต่อการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และความรู้เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการแพทย์ฉุกเฉินในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยวิกฤต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.05) ผลจากการศึกษาสามารถประยุกต์ใช้โดยการเพิ่มขอบเขตสมรรถนะทางการแพทย์ฉุกเฉิน ร่วมกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อ สร้างความเข้มแข็งและเป็นต้นแบบสำหรับสถาบันการศึกษาอื่นเพื่อประยุกต์ใช้ต่อไป
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2553). การสาธารณสุขไทย พ.ศ.2554 – 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
นุสรีนา บินสะแหละหมัน และคณะ. (2561). สถานการณ์การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 40-49.
ประณีต ส่งวัฒนา และคณะ. (2563). การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ความมั่นคงจากมุมมองของ ผู้ให้บริการ: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารสภาการพยาบาล., 35(3), 17-35.
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. (2562). คู่มือนักศึกษา. ยะลา: วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธรจังหวัดยะลา.
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. (2563). บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และ การแพทย์สมุนไพรระหว่าง วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธรจังหวัดยะลา และศูนย์อำนวยการแพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา.
ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. (2560). การสอนโดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 70-84.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2560). กฎหมาย ประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข เกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการศึกษาฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมปฐมพยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2562. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
สมจิตต์ สินธุชัย และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.
สมจิตต์ สินธุชัย และคณะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดย สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการฝึกปฏิบัติรายวิชาฝึกทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา. วารสารพยาบาลรามาธิบดี, 23(1), 113-127.
Abelsson, A. (2017). Learning through simulation. Disaster and Emergency Medicine Journal, 2(3), 125-128.
Bloom, B.S. . (1967). Evaluation of Learning in Secorndary School. New York : McGraw – Hill Book Company Inc.
Wulandari, D & Narmaditya, B.S. (2016). Using simulation methods to improve student learning. Retrieved January 20, 2021, from https://tiikm.com/publication/doi/icedu.2016.1101.pdf