สภาพและปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตจังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 266 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 130 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 130 คน ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริม การจัดการศึกษา 3 คน และนักวิชาการศึกษาที่รับผิดชอบโครงการ 3 คน กลุ่มตัวอย่างเป็น การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น มาตราส่วน 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวัน ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านผลผลิต และด้านกระบวนการตามลำดับ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวัน ได้แก่ 2.1) ด้านปัจจัยนำเข้า มีปัญหาเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอนุมัติงบประมาณให้โรงเรียนล่าช้า โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาคือ ควรโอนเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันให้กับกระทรวงศึกษาธิการ และถ่ายโอนให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ 2.2) ด้านกระบวนการ มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา คือ ควรลดจำนวนเอกสารที่เกี่ยวลงโดยจัดทำแพลตฟอร์มที่ชัดเจน 2.3) ด้านผลผลิต มีปัญหาเกี่ยวกับนักเรียนรับประทานอาหารมากทำให้เกิดทุพโภชนาการเด็กอ้วน โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา คือ ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจากภายนอกโรงเรียน เข้ามาประเมินสุขภาพของนักเรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
References
. (2558). คู่มือการจัดการอาหารกลางวันนักเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวทางการปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
ชนก แสนดิยศ. (2551). การบริหารโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา . มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ณัฐวรรณ ตรวจนอก. (2557). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
นิรมล ละสูงเนิน. (2556). การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโคกขมิ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จังหวัดเลย. ใน วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.
พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. (2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 50 - 58. 8 เมษายน 2536.
มานิตย์ จุมปา. (2554). คำอธิบายกฎหมายปกครอง เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิคุณแม่สุขภาพ. (2551). กินเพื่อสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทมหานคร: มูลนิธิคุณแม่สุขภาพ.
รุจิรา สัมมะสุต และรัศมี คันธเสวี. (2554). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา อาหารบำบัดโรค หน่วยที่ 1 - 7 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 16). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันวิจัยฟรีสแลนด์คัมพิน่า. (2563). โฟร์โมสต์วิจัยโภชนาการเด็กไทย หนุนรัฐใช้ข้อมูลพัฒนาประเทศ. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2564, จาก https://www.prachachat.net /csr-hr/news-550270
สายพิณ แก้วงามประเสริฐ. (2562). ปัญหาอาหารกลางวันและนมโรงเรียน. เรียกใช้เมื่อ 6 ตุลาคม 2563 จาก https://www.mathichon.co.th/article/news.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (2563). รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. จังหวัดพิษณุโลก: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1.
สุเทพ ชิตยวงษ์. (2562). สรุปผลโครงการอาหารกลางวัน ปี 2562. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2564 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/8419695
อุดมสิน อุสาทรัพย์. (2553). รูปแบบการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.).New York: Harper & Collins.