แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

กนกณิศา ธนาโชคพิสิษฐ์
อลงกรณ์ อรรคแสง

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางวิธีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค      ของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของอำเภอเขมราฐตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา        3) เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ                   ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์และจดบันทึก โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติจากการเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำเภอเขมราฐ จำนวน 15 คน พิจารณาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 6 องค์ประกอบ ได้แก่     1) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว 2) เส้นทางคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 3) กิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยว 4) สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 5) โปรแกรมการท่องเที่ยวสำเร็จรูป 6) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว จากผลการวิจัย พบว่า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวทางวิธีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จากข้อมูลองค์ประกอบ (6As) ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม          ของอำเภอเขมราฐตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าถนนบางแห่งชำรุดและที่พักมีไม่เพียงพอ เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ   ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่อำเภอเขมราฐในการร่วมส่งเสริม สนับสนุน การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบบูรณาการร่วมกันเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ธนาโชคพิสิษฐ์ ก. ., & อรรคแสง อ. . (2021). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี . วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 177–191. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252705
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 - 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการอาเซียน.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). “การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน”. วารสารนักบริหาร, 32(4), 139 - 146.
จุฑาภรณ์ ทองเพ็ง. (2554). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของวัดโสธรวรารามวิหารจังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุปผา พิกุลแก้ว และคณะ. (2550). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน บนพื้นที่เกาะช้างกิ่งอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พิชัย รักตะสิงห์. (2556). “ไทยกับการเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวของ AEC”. ใน งานสัมมนาTU - ASEAN Forum ครั้งที่ 7. วันที่ 23 ธันวาคม 2556 ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น: 1 - 40.
วาลิกา แสนคำ. (2555). การพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีศักดิ์ พิกุลแก้ว. (2556). “Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้เขมราฐ”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. (2544). “นามานุกรมภูมิศาสตร์ จังหวัดอุบลราชธานี”. จังหวัดอุบลราชธานี: น่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
อมราวดี คำบุญ. (2556). การประเมินความพร้อมทางการท่องเที่ยวของเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็กอำเภอเขมราฐ. จังหวัดอุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2556). การประเมินความพร้อมทางการท่องเที่ยวของเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็กอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อมราวดี คำบุญ และดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2556). การประเมินความพร้อมทางการท่องเที่ยวของเมืองท่องเที่ยวขนาดเล็กอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), 3-22.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. TourismManagement, 21(1), 97-116.