การมีส่วนร่วมในการวางแผนและปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถาบันพระพุทธศาสนานั้น เป็นสถาบันหลักที่สำคัญสถาบันหนึ่งของสังคมไทย ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน และดำรงตนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เป็นผู้นำในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งพระสงฆ์เป็นหนึ่งในพุทธบริษัทที่สำคัญและพระพุทธศาสนาจะเกิดความมั่นคง ยั่งยืนต่อไปได้ ก็ด้วยอาศัยพุทธบริษัททั้ง 4 ช่วยกันจรรโลงรักษาไว้ ด้วยการปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าตามกำลังสติปัญญา ซึ่งอย่างน้อยต้องยึดหลักศีล 5 เป็นพื้นฐานสำหรับดำเนินชีวิตของคฤหัสถ์ ส่วนบรรพชิตต้องมุ่งมั่นในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิและปัญญา หากปฏิบัติได้ดังนี้ พระพุทธศาสนาก็จะมีคุณูปการต่อสังคมไทยเพราะคนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ เมื่อพระพุทธศาสนามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ศาสนาอื่น ๆ ก็จะพลอยได้รับอานิสงส์ และสามารถดำรงอยู่เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติได้เช่นกัน ส่วนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนานั้นก็เพื่อจรรโลงรักษาพระพุทธศาสนา ด้วยการจัดระบบระเบียบเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนไป แม้จะกระทบต่อภาพลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นบ้าง แต่เพื่อความเจริญงอกงามแห่งพระพุทธศาสนาในอนาคต ถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะสอดคล้องกับหลักพุทธธรรมข้อที่ว่า “สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และสละชีวิตเพื่อรักษาความถูกต้อง”
Article Details
References
คณะสงฆ์จังหวัดแพร่. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจังหวัดแพร่ 2561-2564. เรียกใช้เมื่อ 25 มกราคม 2564 จาก https:// www. แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาจังหวัดแพร่ 2561-2564
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2531). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. สถาบันไทยคดีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). การปฏิรูป (Reform). เรียกใช้เมื่อ 26 ธันวาคม 2563 จาก https://library.mju.ac.th/pr/?p=12048
พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ และคณะ. (2563). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 69-81.
พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2548). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาญจนบุรี: นักพิมพ์ธรรมเมธี–สหายพัฒนาการพิมพ์.
พระราชวรเมธี, ดร. และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564. “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. เรียกใช้เมื่อ 21 มกราคม 2564 จาก http://www.buddhism4. com/web/index.php/9-1/3-2017-10-21-19-11-43
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2544). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของคณะกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนเทศบาล ในจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณิการ์ ภูมิวงศ์พิทักษ์. (2540). ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการครอบครัวและชุมชนพัฒนา หน้า ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนดวงแข เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2542). คำอธิบายลักษณะวิชาทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Preecha Bunthavee. (2562). Reformation: The NCPO’s Concept based on Jacques Derrida’s Deconstruction Theory. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 18(3), 267-280.
Surasuk Visuddhajaro. (2559). Temple management strategies for stability on buddhist. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(1), 130-143.