การป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอินทรีย์สังวร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาการป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอินทรีย์สังวรมาแก้ปัญหาชีวิตของคนในยุดที่มีการแพร่เชื้อโรคโควิด 19 ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นพุทธสุภาษิตไว้ว่า “สัมมาทิฐิ สมาทานา สัพพัง ทุกขัง อุปัจจะคุง คนทั้งหลายจะสิ้นปัญหา หมดทุกข์ทั้งปวงได้ ต้องปฏิบัติตามสัมมาทิฐิ” หรือการสำรวมอินทรีย์สังวร ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นเป็นหลักการป้องกันโรคโควิด 19 ตั้งแต่ขั้นต้น ถึงที่สุดทำให้ไม่เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตที่อยู่ในสถานการณ์เชื้อโรคโควิด 19 นี้ได้ ดังนั้น การป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอินทรีย์สังวร การใช้หลักอินทรีย์สังวรนั้นทำให้จิตใจเป็นกลาง ๆ และมีความตั้งมั่นดี จะทำงานทำการใดหรือนำมาใช้มาปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด 19 ในช่วงที่ระบาทมาก ๆ ก็ทำด้วยเหตุผล ช่วยให้มีสติพิจารณาความจริงอะไรก็แจ่มใสชัดเจนยิ่งขึ้น เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและสังคมชุมชน การป้องกันเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอินทรีย์สังวร นั้นเราจะต้องมีสติตั้งมั่น เตรียมพร้อมอยู่เสมอและมีการฝึกอบรมไว้โดยการฝึกให้มีสติ และมีความรู้ตัวเป็นพื้นฐานเอาไว้และมีการซ้อมอยู่เสมอ ๆ เมื่อมีการไปไหนมาไหนนั้นเราจะได้ใช้สติหรืออินทรีย์สังวร พิจารณาถึงอินทรีย์ทั้ง 6 ให้มีชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับตัวเองและบุคคลอื่น ๆ อินทรีย์สังวร ที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่ปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ และปลอดภัยจากทุกข์ที่จะเกิดมาจากปัญหาของโรคภัยไขเจ็บนั้นด้วย
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเข็มทอง ตนฺติปาโล (ฤทธิ์ลือไกร). (2547). การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระครูโพธิสารคุณ (ประยงค์ อุปลวณฺโณ). ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบูรณะ ชาตเมโธ (โพธิ์นอก). (2543). การศึกษาอิทธิพลของอายตนะ (สื่อ) ที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2556). วิปัสสนานัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปิฎก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สามารถ มังสัง. (2563). โควิด 19 ระบาด: เหตุให้เศรษฐกิจและสังคมแย่ลง. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2563 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000059231
สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 8 มิถุนายน 2563 จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/ article/view/242185
อนุตรา รัตน์นราทร. (2563). รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 4(2), 116-23.