การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

กิตติมา ใจปลื้ม
นิลาวัลณ์ จันทะรังสี
อัมพล เจริญนนท์
เริงวิชญ์ นิลโคตร
วัยวุฒิ บุญลอย

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดเก็บความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา สามารถนำมาพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) ส่วนหัวปลา (Knowledge Vision - KV) เป็นความรู้ความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร 2) ส่วนตัวปลา (Knowledge Sharing - KS) เป็นกระบวนการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดการไหลเวียนภายในสถานศึกษา และ 3) ส่วนหางปลา (Knowledge Asset - KA) เป็นการสร้างคลังข้อมูลสำหรับจัดเก็บความรู้ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล นำไปสู่กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใน 8 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดองค์ความรู้ 2) การรวบรวมองค์ความรู้ 3) การคัดเลือกองค์ความรู้ 4) การจัดเก็บองค์ความรู้ 5) การแบ่งปันองค์ความรู้ 6) การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ 7) การสร้างองค์ความรู้ใหม่ และ 8) การถ่ายทอดองค์ความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา วัฒนธรรม การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของบุคลากร ความพร้อมในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประเมินผล และการดำเนินงานต้องมีวิสัยทัศน์ นโยบาย การพัฒนา ระดับบุคคล ทีม และองค์กร อย่างชัดเจน มีสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม การนำมาประยุกต์ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจในบริบทของตนเอง และเลือกให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างวินัย 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล 2) รูปแบบความคิด 3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 4) การเรียนรู้เป็นทีม และ 5) การคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปใช้การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบ และมีระบบการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษา

Article Details

How to Cite
ใจปลื้ม ก. ., จันทะรังสี น. ., เจริญนนท์ อ. ., นิลโคตร เ. ., & บุญลอย ว. . (2021). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 46–60. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252695
บท
บทความวิชาการ

References

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2563). องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization : LO). เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2563 จาก https://www2.si.mahidol.ac.th/km/ knowledgeassets/ definition

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมสุภัค ครุฑกะ. (2562). เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการความสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 269-279.

นฤมล สายะบุตร และประกอบ คุณารักษ์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 17-22.

นันวิชญ์ ฉัตรบรรยงค์. (2555). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(1), 54-66.

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2550). การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: ใยไหม.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2546. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-16 (9 ตุลาคม 2546).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23 (19 สิงหาคม 2542).

พัชนี กาสุริย์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(71), 23-29.

วิจารณ์ พานิช. (2559). ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

วิภาดา เวชประสิทธิ์. (2563). การจัดการความรู้ (Knowledge Management). เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/Phd_ Wiphada_slide.pdf

อุไรวรรณ แย้มแสงสังข์. (2555). การจัดการองค์ความรู้เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ไอกรุ๊ป เพรส.

เอกกนก พนาดำรงต์. (2560). มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วย KM. Siriraj Medical Bulletin. Retrieved December 27, 2563 from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81446

David, A. G. (1993). Beyond high philosophy and grand themes lie the gritty details of practice. Retrieved December 27, 2563 from https://cmaps public.ihmc.us/rid=1GNZXJ3HX-28D1SVY-P4H/Building%20a%20Learning%20Organization_2.pdf

Senge, P.M. . (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Currency Doubleday.

Senge, P.M. (1994). The Fifth Discipline Fildbook. New York: Doubleday.