การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ทุนศักยภาพเครือข่ายเกษตร ในการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และ 2) การพัฒนาข้อเสนอแนวปฏิบัติในการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต และถอดบทเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เครือข่ายเกษตรปลอดภัย 2) หน่วยงานภาครัฐ และ 3) ผู้ประกอบการและผู้บริโภค จำนวน 53 คน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า 1) ทุนศักยภาพที่สำคัญของเครือข่ายเกษตรปลอดภัย ได้รับการสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐเป็นสำคัญที่ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่สร้างรายได้ในครัวเรือน โดยเฉพาะผลไม้ยืนต้นและพืชผัก เครื่องเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนผ่านโครงการอย่างต่อเนื่อง ทุนศักยภาพ ได้แก่ 1.1) ด้านต้นทุนด้านบริบทพื้นที่ 1.2) ด้านผู้นำกลุ่ม 1.3) ด้านการสื่อสาร 1.4) ด้านการสนับสนุนของภาคี และ 1.5) ด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 2) การพัฒนาข้อเสนอแนวปฏิบัติในการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาทุนศักยภาพพื้นที่เป็นสิ่งที่เครือข่ายต้องรู้ถึงศักยภาพของตนเอง และพลวัตภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การเรียนรู้ การเข้าสู่เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่ความยั่งยืนต้องประยุกต์ใช้ 3 หลักการคือ ความมีความพอประมาณ การมีเหตุผล ภูมิคุ้มกันที่ดี และ 2 เงื่อนไข คือ ความรอบรู้ และคุณธรรม ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่ต้องบูรณาการคือ ความสอดคล้องบริบทของพื้นที่และศักยภาพของตนเอง การมีความรอบรู้ทางสุขภาพ และการทำงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันและกัน
Article Details
References
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. (2562). ผลการตรวจสารพิษตกค้างผักผลไม้. เรียกใช้เมื่อ 30 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.thaipan.org/action/1107
จิราภรณ์ คชเสนี และนันทนา คชเสนี. (2558). นิเวศวิทยาเพื่อสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช ธรรมปิยา. (2559). ตามรอยพ่อชีวิตพอเพียง ... สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์สิริ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2561 – 2565) ฉบับทบทวน. นครปฐม: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม.
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม. นครปฐม: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด.
อภิชัย พันธเสน. (2562). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2557). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ... สู่ความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
อำพล กิตติอำพล. (2560). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. นนทบุรี: เพชรรุ่งการพิมพ์.
เครือข่ายเกษตรปลอดภัย. (29 สิงหาคม 2563). การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. (เริงวิชญ์ นิลโคตร, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้บริโภค. (29 สิงหาคม 2563). การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. (วัยวุฒิ บุญลอย, ผู้สัมภาษณ์)
ผู้ประกอบการ. (29 สิงหาคม 2563). การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. (วัยวุฒิ บุญลอย, ผู้สัมภาษณ์)
หน่วยงานภาครัฐ. (29 สิงหาคม 2563). การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. (เริงวิชญ์ นิลโคตร, ผู้สัมภาษณ์)
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.