รูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี เพื่อพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม และสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้จริยธรรม การวิจัยด้วยการเรียนรู้เชิงรุก และพัฒนาผลการเรียนรู้จริยธรรมการวิจัยและเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง โดยให้นักศึกษาเลือกทำหรือไม่ทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ เชิงรุกตามความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลอง คือ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย สื่อวิดีทัศน์ การเชิญผู้มีประสบการณ์มาบรรยาย และกรณีศึกษาเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย 2) เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินจริยธรรมในกระบวนการวิจัย และ แบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำกิจกรรม มีระดับจริยธรรมการวิจัย สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ทำกิจกรรม และ กลุ่มตัวอย่างที่ทำกิจกรรม ปฏิบัติตามทักษะชีวิตและอาชีพที่เหมาะสม สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ทำกิจกรรม ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับจริยธรรมการวิจัยระหว่างกลุ่มทำกิจกรรมและกลุ่มไม่ทำกิจกรรม พบว่า ไม่แตกต่างกัน ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับทักษะชีวิตและอาชีพในภาพรวมระหว่างนักศึกษากลุ่มทำกิจกรรมและกลุ่มที่ไม่ทำกิจกรรม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับจริยธรรมการวิจัยและระดับทักษะชีวิตและอาชีพ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2557). ความตระหนักในจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 46-54.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิษณุ อภิสมาจารย์โยธิน และปรีชา สุนทรานันท์. (2557). การพัฒนาจิต คุณธรรม และจริยธรรมของนักศึกษาแพทย์ศิริราช. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 1(2), 55-66.
รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(1), 147-168.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
ศานิตย์ ศรีคุณ. (2560). การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดจริยธรรมในกระบวนการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(4), 47-57.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวกนการเรียนรู้. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 6(2), 1-13.
สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ และภัทร์ พลอยแหวน. (2559). การพัฒนาการเรียนรู้ด้านจริยธรรม การวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพของนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 150-162.
สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. ((มปป.)). การพัฒนาอาจารย์ให้สอนแบบ Active Learning ของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. เรียกใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.mua.go.th/users/he-commission/t-visit%20project/t-visit%20 book%202/15--g2--8-1.pdf
Eisen, A. et al. . (2004). A Model for Teaching Research Ethics. Science and Engineering Ethics, 10(4), 693-704.
Hazzan, O. et al. (2011). Guide to Teaching Computer Science: An Activity-Based Approach. London: Springer Publishing Company, Incorporated.
Tolich, M. et al. (2017). Teaching Research Ethics as Active Learning: Reading Venkatesh and Goffan as Curriculum Resources. Retrieved May 1, 2562, from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/13645579. 2017.1287870