แนวคิดการจัดตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายต่อสุขภาพอนามัย และชีวิตของประชาชนจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม โดยวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อเยียวยาความเสียหายต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตของประชาชนจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมโดยวิธีการจัดเก็บภาษีที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และนำเงินภาษีที่จัดเก็บมาอุดหนุนกองทุนที่จะจัดตั้งขึ้น เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เป็นบทความ รายงานวิจัย ตำราทางกฎหมายตลอดจนคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และการเยียวยาความเสียหายจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บภาษีที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ลักษณะของกองทุนที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง กองทุนสิ่งแวดล้อมของไทยและต่างประเทศ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใช้กฎหมายในการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมและ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ท่าน เมื่อรวบรวบข้อมูลทั้งหมดแล้วจะนำมาทำการศึกษาวิเคราะห์เพื่อเขียนรายงานการวิจัยและนำเข้าสู่กระบวนการสัมมนาตอบข้อซักถามจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย เพื่อรับฟังข้อชี้แนะจากคณะกรรมการ นำมาปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของงานวิจัยอีกครั้งหนึ่ง ผลของการวิจัยนี้ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเยียวยาความเสียหายต่อสุขภาพ อนามัย และชีวิตของประชาชนจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวน 47 มาตรา อยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข มีสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกองทุนนอกงบประมาณไม่มีทุนประเดิมจากรัฐบาลและไม่มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาล รายได้ของเงินกองทุนมาจากการจัดเก็บภาษีที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
Article Details
References
กวิน เอี่ยมตระกูล,และคณะ. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ. การคลังปริทัศน์, 6(8), 1-3.
คณะกรรมการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. (2554). ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง. ใน รายงานการวิจัย. กระทรวงสาธารณสุข.
จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2556). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการและบทวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2542). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และกอบกุล รายะนาคะ. (2552). เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: ล็อคอินดีไซน์เวิร์ค.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580. (2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก หน้า 52 - 63 (8 ตุลาคม 2561).
วิษณุ อรรถวานิช. (2563). ฝุ่นพิษ PM 2.5 กับความรัก. ใน การเสวนาทางวิชาการ ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 - 2559. เรียกใช้เมื่อ 28 สิงหาคม 2557 จาก http://www.nesdb.go.th
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ และคณะ. (2531). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายต่อสุขภาพจากมลพิษ. ใน รายงานการวิจัย. มูลนิธิญี่ปุ่น.
สุปรียา แก้วละเอียด. (2555). การจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต. วารสารนิติศาสตร์, 41(4), 118-158.
อุไรวรรณ ประชุมจิตร. (2541). กองทุนทดแทนความเสียหายจากมลพิษ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.