รูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาคร เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) ทดลองใช้และตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ พนักงานครู แบบเจาะจง ค่าสถิติพื้นฐานใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามเป็นมาตรประเมินค่า ผลการวิจัยรูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาคร เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21พบว่า 1) สภาพการพัฒนา มี 5 ขั้นตอน คือ 1.1) การจัดทำหลักสูตร 1.2) การเขียนแผนการสอน 1.3) วิธีสอน 1.4) สื่อนวัตกรรม 1.5) การจัดแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับ มาก 2) รูปแบบการพัฒนาพนักงานครูเทศบาลนครสมุทรสาครเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านความถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ทดลองใช้ พบว่า ความคิดเห็น อยู่ในระดับ มากที่สุด และ 4) การประเมินรูปแบบ ด้านความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
Article Details
References
กองการศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร. (2561). ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: กองการศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร.
__________. (2561). สารสนเทศเทศบาลนครสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: กองการศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร.
ดวงพร หวานเย็น. (2556). การจัดการการสอนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสารโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ต่อตระกูล บุญปลูก. (2556). การเตรียมความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและผู้บริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเวียงพานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ปาริชาติ รัตนภูมิ. (2549). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คำสมัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน. (2549). มาตรฐานการศึกษาตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2549-2553). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์การมหาชน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.
Deming, W. E. (2543). วงจรกระบวนการ. ใน วีระพล บดีรัฐ (บรรณาธิการ). PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ (หน้า 7). กรุงเทพมหานคร: ประชาชน.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.