รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สองเมือง กุดั่น
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต
มนสิช สิทธิสมบูรณ์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทาง การจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) สร้างรูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 4) ประเมินรูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธีมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและแนวทาง การจัดการโครงการ 2) สร้างรูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา 4) ประเมินรูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูในสถานศึกษา แบบเจาะจง ค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามเป็นมาตรประเมินค่า ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและแนวทางการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า การจัดการเรียนการสอนวิชาโครงการ มี 5 ขั้นตอน คือ 1.1) การเริ่มต้นโครงการ 1.2) การดำเนินการตามโครงการ 1.3) การพัฒนาโครงการ 1.4) การเสนอผลการศึกษาโครงการ 1.5) การประเมินผลโครงการ และสภาพการดำเนินการ อยู่ในระดับ มาก 2) รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา
ด้านการประกอบอาชีพ ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านความถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ความคิดเห็น อยู่ในระดับ มากที่สุด และ 4) การประเมินรูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพ ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

How to Cite
กุดั่น ส., สิกขาบัณฑิต เ., & สิทธิสมบูรณ์ ม. (2021). รูปแบบการจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 305–320. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252237
บท
บทความวิจัย

References

ชลัท อุยถาวรยิ่ง. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมรูปแบบการสอนวิชาโครงการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนโดยวิธีผสมผสาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชูศักดิ์ เปลี่ยนภู่. (2551). หลักการจัดการเรียนการสอนช่างอุตสาหกรรม หลักการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพลสโพรดักส์.

พนม บุญญ์ไพร. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาโครงการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. ใน Proceeding การประชุมวิชาการระดับชาติ การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 . มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพมหานคร: สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง.

วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี. (2561). มาตรฐานการศึกษา วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี (SAR). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2549). เอกสารแนะนำการใช้คู่มือแนวทางการสอนวิชาโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา.

Daniel, L. S. et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publisher Inc.

Katz, L. G. & Chard, S. D. (2005). “The Project Approach: An Overview.” Approaches to Early Childhood Education. N.J.: Pearson/Merrill Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607-610.

THAI INVENTION. (2563). สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่. เรียกใช้เมื่อ 27 เมษายน 2563 จาก http://thaiinvention.net/member.php