ผลการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูน ตามกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

แขนภา ชารีคำ
บุษวรรษ์ แสนปลื้ม

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูน ตามกลวิธี STAR ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านกุดตะกาบ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้แบบแผนการวิจัย กลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูน ตามกลวิธี STAR มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 31.83 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.83 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 75 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 33.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.38 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มีคะแนนสูงกว่าร้อยละ 75 และมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
ชารีคำ แ., & แสนปลื้ม บ. (2021). ผลการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมช่วยเหลือเป็นรายบุคคล เสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูน ตามกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 135–147. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252221
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฏฐ์ชปิญชาน์ แก้วดอนรี. (2556). ผลของการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เสริมด้วยกลวิธี STAR ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ. (2537). เรื่องน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นิธินันท์ กลั่นควัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื่องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). พฤติกรรมกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

มะลิวัลย์ ทองกุล. (2555). ผลการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยเหลือรายบุคคลเสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูนตามขั้นตอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของโพลยาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ยุพิน พิพิธกุล. (2546). เทคโนโลยีผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมฝึกอบรม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. จังหวัดนครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2554). การให้เหตุผล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: เลิร์นและเพลย์แมชกรุ๊ป.

สันติ อิทธิพลนาวากุล. (2550). การพัฒนาชุดการเรียนการเรียนคณิตศาสตร์แบบสืบสวนสอบสวน โดยใช้ โปรแกรม GSP(The Geometer's Sketchpad) เพื่อส่งเสริมความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรจิฬา แซ่ลี. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เสริมด้วยแบบฝึกการ์ตูน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Maccini, P. & Gagnon J. (2011). Mathematics strategy instruction for middle school students with learning disabilities. Retrieved 1 March 2021. from http://www.k8accesscenter.org/training_resources/massini.asp

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. (2nd ed). Massasuchusetts: A Simon and Schuster Company.