การพัฒนาชุดการเรียนสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

วารี สาริกา
ชรินทร์ มั่งคั่ง
จารุณี ทิพยมณฑล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์ (EIHP) เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อหาคุณภาพของแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษา ในการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาได้ใช้การศึกษาเชิงปริมาณโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน ได้แก่ ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 6 คน และครูผู้สอนเทคโนโลยี จำนวน 4 คน เครื่องมือ  ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดการเรียนสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์ (EIHP) เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา แบบประเมินคุณภาพชุดการเรียน และแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาเป็นแบบประเมินชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการหาคุณภาพของชุดการเรียนและแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลโดยการประเมินของกลุ่มเป้าหมาย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาชุดการเรียนสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์ (EIHP) เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่าชุดการเรียนสังคมศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากมีค่าเฉลี่ย (µ) 3.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) 0.41 สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้ 2) การสร้างแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่าแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลดังกล่าวมีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลางมีค่าเฉลี่ย (µ) 3.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) 0.48 ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 3.00 ขึ้นไปสามารถใช้ประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาได้

Article Details

How to Cite
สาริกา ว., มั่งคั่ง ช., & ทิพยมณฑล จ. (2021). การพัฒนาชุดการเรียนสังคมศึกษาสาระเศรษฐศาสตร์ที่บูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 73–86. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/252202
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2553). การศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมด้านความเป็นพลเมืองดีในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา. ใน รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยรัตน์ โตศิลา และวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และวิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบโดยเรียงลำดับการพิจารณาเป็น 1 - 2 และ 3: แนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 63-74.

ณัฐกมล วัชรวงษ์ทวี. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป สาระภูมิศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นรเศรษฐ์ เตชะ. (2555). การจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดเชิงสังเคราะห์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เบญจวรรณ ภูตินันท์ และคณะ. (2560). ผลการใช้ชุดการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 822-835.

ไพลินรัตน์ กุณสิทธิ์ และธีรภัทร กุโลภาส. (2560). ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(4), 206-207.

รัตตมา รัตนวงศา. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โซเชียลบุ๊คมาร์กและวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Mike, R. & Bailey, G. (2007). Digital Citizenship in Schools. Eugene, OR: ISTE. DigitalCitizenship: Using Technology Appropriately.