การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร” เพื่อเป็นการนำเสนอแนวทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานของเทศบาลนครสกลนคร รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนและบุคลากรในองค์กรร่วมกันรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดกระบวนการทั้งในด้านการตัดสินใจ ด้านปฏิบัติการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนการดำเนินงาน และข้อบัญญัติอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติ การกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ชุมชนของตนเอง สามารถเข้าถึงและรับข้อมูลข่าวสารการบริหารงานและนโยบายการพัฒนาของผู้บริหารเทศบาลนครสกลนคร และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ ประชาชนสามารถติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงาน และสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการและตอบสนองความต้องการของประชาชนเป็นหลัก และให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน รวมถึงการนำไปสู่การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและบุคลากรในองค์กรให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดทักษะและเห็นความสำคัญในการใช้เครื่องมือสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงดำเนินการให้ครบกระบวนการเท่านั้น แต่ต้องดำเนินการให้ถึงสาระสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่งผลให้การบริหารงานขององค์กรมีความโปร่งใส่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการปฏิบัติมากยิ่งขึ้นต่อไป
Article Details
References
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. ใน รายงานการวิจัย. มูลนิธิเอเชีย สถาบันพระปกเกล้า.
ทักษิณ ประชามอญ และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 96-109.
เทศบาลนครสกลนคร. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561 - 2563). จังหวัดสกลนคร: เทศบาลนครสกลนคร.
ธีระพล อรุณะกสิกร. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2541). การบริหารสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: สำนักนิติธรรม.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2541). เอกสารประกอบการศึกษาวิชา สค. 651 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เมธี จันท์จารุภรณ์ และสุธิดา รัตนวาณิชย์พันธ์. (2541). วิทยากรชุมชน: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างประชาชน. จังหวัดนครสวรรค์: สุขุมและบุตร.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2544). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. จังหวัดนนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ปัญหา อุปสรรค และทางออก. จังหวัดนนทบุรี: ธรรมดาเพรส จำกัด.
สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2547). การศึกษาทางเลือกของชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(4), 18-23.
อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรทัย ก๊กผล และฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2553). บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า 52 ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
Alastair, T. W. (1982). Why Community Participation? A Discussion of the Argument Community Participation. In Current Issue and Lesson Learned. United Nations Children's Fund.
Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation: Concept and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No.2 The Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.
Cohen, M. J. & Norman, T. U. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York : World Development.
Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept, Theory and Implementation. Atlanta, G: Georgia State University Press.
Fornaroff, A. (1980). Community Involvement in Health Systems for Primary Health Care. Geneva: World Health Organization.
Reeder, W. (1974). Some Aspects of the Informal Social Participation of Families in New York State. In Ph. D. Dissertation. Cornell University.