การดำเนินชีวิตสมัยใหม่สู่ความสำเร็จในการทำงานโดยใช้ หลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินชีวิตสมัยใหม่ในแนวทางสู่ความสำเร็จในการทำงาน โดยธรรมชาติของคนเรานั้น ต้องการประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ซึ่งมีใช่เกิดขึ้นแค่เพียงวันใดวันหนึ่ง แต่ทุกคนอยากมีความสุขและรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน และในทุกด้านของชีวิตอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว เรื่องการงาน เรื่องการเงินหรือเรื่องธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งหลายคนก็ประสบความสำเร็จตามที่ตนหวังไว้ และ ในขณะเดียวกันยังมีอีกหลายคนกำลังเดินไปสู่ความสำเร็จในแต่ละด้านที่ตนต้องการ เป็นการดีที่จะได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการได้แสวงหาความรู้เพื่อมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในยุคสมัยใหม่ ดังนั้น การที่จะเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความมั่นคงในแต่ละด้านที่ตนเองต้องการนั้น ควรต้องเอาหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ให้เกิดประโยชน์การที่เอาหลักอิทธิบาท 4 นำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการทำงานหรือการดำรงชีวิต เช่น การใช้ อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จที่พระพุทธองค์ได้ทรงสดับไว้อย่างแยบคาย อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ หรือ ความพึงพอใจ คือ พอใจ กับการทำงานนั้น ๆ วิริยะ หรือ ความเพียร คือ ขยันหมั่นเพียรทำงานสิ่งนั้นด้วยความพยายาม จิตตะ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำงานและทำสิ่งนั้นด้วยความตั้งใจ วิมังสา คือ ความไตร่ตรอง ในการทำงานหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น อิทธิบาท 4 จึงจะทำให้เราประสบผลสำเร็จในชีวิตและการทำงานได้ตามความมุ่งหวัง
Article Details
References
นครเยอร์. (2564). ศาสนากับการดำเนินชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://tripopyun.blogspot.com/2013/09/2.html
ประสงค์ สุ่นศิริ. (2562). ค่านิยมที่เปลี่ยนไปในสังคมไทย. เรียกใช้เมื่อ 16 มกราคม 2564 จาก https://www.naewna.com/politic/columnist/42108
ปราณี รามสูตร และจำรัส ด้วงสุวรรณ. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2564). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมมิก จำกัด.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2556). แนวคิด ทฤษฎี เทคนิคและการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เมธีธรรมาภรณ์, (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2535). พุทธศาสนากับปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2562). อิทธิบาท 4. เรียกใช้เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อิทธิบาท_4
สุภาวดี บริกุล. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพการทำงาน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสกสันต์ บุญยะ. (2559). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารบุคคลของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมขนาดเล็กแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
Chapman, E. N. (1995). Supervisor Suviva Kit (2nd ed.). California: Science Research Associates Inc.
Lahey, B. B. (2001). Psychology: an Introduction. (7th Edition). New York: McGraw – Hill Company, Inc.