โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ที่ใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO; Extracorporeal Membrane Oxygenation)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal Membrane Oxygenation: ECMO) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและความคาดหวังของพยาบาล การพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO แบ่งเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและความคาดหวัง การพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมทรวงอก ICU ระยะที่ 1 จำนวน 8 คน ระยะที่ 2 และ 3 จำนวน 22 คน เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โครงการ คู่มือ และแผนการสอน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO และความพึงพอใจต่อโปรแกรม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถตนเอง และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO 2) ภายหลังสิ้นสุดการทดลองใช้โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจที่ใช้ ECMO เพิ่มขึ้น ( = 4.41, 1.16 และ 0.50) ตามลำดับ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) และ 3) การประเมินผลการใช้โปรแกรม พบว่ามีความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับมาก (
= 4.05, S.D. = 0.15)
Article Details
References
ชูชัย สมิทธิไกร. (2558). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยธิดา บวรสุธาศิน และนิภาพร จันทราทิพย์. (2562). การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอดในผู้ป่วย หลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด: ปัญหาและการพยาบาล กรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดลิ้นหัวใจ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(3), 551-564.
วรรณชนก จันทชุม และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนงานในการปฏิบัติการพยาบาลของ พยาบาลพี่เลี้ยงโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 157-166.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์ และสุวรรณา ภู่ทิม. (2562). การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ: ปัญหาและการพยาบาล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(1), 17-31.
สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. (2563). สถิติการผ่าตัดหัวใจในประเทศไทย ปี 2560 - 2562. เรียกใช้เมื่อ 1 ธันวาคม 2563 จาก https://ststhai.org/en/stats/
สหัสพร ยืนบุญ. (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
อารี ชีวเกษมสุข. (2559). สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
Ball, L. et al. (2016). Postoperative complications of patients undergoing cardiac surgery. Current opinion in critical care, 22(4), 386-392.
Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Biancari, F. et al. (2018). Meta-Analysis of the Outcome After Postcardiotomy Venoarterial Extracorporeal Membrane Oxygenation in Adult Patients. Journal of Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 32(3), 1175-1182.
Fouilloux, C. et al. (2019). Impact of education and training course for ECMO patients based on high-fidelity simulation : a pilot study dedicated to ICU nurses. Perfusion, 34(1), 29–34.
Johnston, L. et al. (2018). Education for ECMO providers: Using education science to bridge the gap between clinical and educational expertise. Seminars in perinatology, 42(2), 138-146.
Knowles, M. S. (1984). Self - directed learning: A neglected species. (3rd. ed). Houston: Gulf Publishing Co.
Munro, N. & Taylor-Panek, S. (2017). The nurse practitioner role: the communication link for cardiac surgery patients. Critical care nursing clinics of North America, 19(4), 385-394.
Polit, D. F. & Beck, C. T. (2006). The content validity index: are you sure you know what's being reported? Critique and recommendations. Research in nursing & health, 29(5), 489-497.
Turner, D. A. & Cheifetz, I. M. (2013). Extracorporeal membrane oxygenation for adult respiratory failure. Respiratory care, 58(6), 1038-1052.
Werther, W. B. & Davis, K. (1993). Human resources and personnel management (4th ed.). USA: McGraw-Hill, inc.