ศึกษาแนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง

Main Article Content

พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม)
พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี (ไกรเทพ)

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุฯ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรังตามตัวแปรอิสระ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดรูปแบบในการวิจัยให้เป็นแบบผสมผสาน ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 132 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชมรมผู้สูงอายุได้จัดขึ้นนั้น โดยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก (μ = 3.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 3.76) รองลงมา คือ ด้านร่างกาย (μ = 3.70) ส่วนด้านความสัมพันธ์ทางสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 3.67) 2) แนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย เทศบาลควรมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายให้หลากหลาย เช่น ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อ เดิน เล่นกีฬาประเภทเบา เป็นต้น ด้านจิตใจ อายุควรมีการเข้าวัดในวันพระเพื่อฟังเทศน์ นำปิ่นโตถวายพระ เรียนรู้เรื่องหลักธรรม เป็นต้น ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ควรร่วมงานบุญต่าง ๆ งานเทศกาล งานด้าน ศาสนพิธีต่าง ๆ ในศาสนา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างให้ผู้สูงอายุมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
รตนโชโต (คงสม) พ., & ญาณเมธี (ไกรเทพ) พ. (2021). ศึกษาแนวทางการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 398–410. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251661
บท
บทความวิจัย

References

ชนนิพัทธ์ ประเสริฐพรรณ และคณะ. (2557). กิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 388-400.

ธนายุส ธนธิติ และกนิษฐา จำารูญสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(3), 57-68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาการพิมพ์.

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 1. (22 ตุลาคม 2563). การจัดกิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 2. (25 ตุลาคม 2563). การจัดกิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 3. (27 ตุลาคม 2563). แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 4. (27 ตุลาคม 2563). แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม), ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญท่านที่ 5. (27 ตุลาคม 2563). แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. (พระใบฎีกาสิทธิพงษ์ รตนโชโต (คงสม), ผู้สัมภาษณ์)

พระประเสริฐ นารโท (ขุนวัง). (2560). การดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมภาวดี รุ่งรัยตนชัย. (2543). ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

วันฤดี มากฉาย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย. (2553). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: องค์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย.

องค์การอนามัยโลก. (2559). World Health Organization. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2), 64-75.