การพัฒนาทักษะการเล่นหมากล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

Main Article Content

พีรวิชญ์ พาณิชย์วรกุล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของการเล่นหมากล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” 2) พัฒนาทักษะการเล่นหมากล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนา ทักษะการเล่นหมากล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) งานวิจัยชิ้นนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง โดยการศึกษาเอกสารและการวิจัยเชิงทดลอง โดยกลุ่มการทดลองคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับฝีมือหมากล้อมที่เพิ่มขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ยังไม่เข้าใจกฎกติกา ความหมาย และทักษะการเล่นหมากล้อมอย่างถ่องแท้ เนื่องจากยังการการพัฒนาทักษะและคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ และยังยึดติดกับรูปแบบการเล่นหมากกระดานชนิดอื่น ๆ 2) พัฒนาทักษะการเล่นหมากล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการเล่นหมากล้อมที่ดีขึ้น และมีระดับฝีมือหมากล้อมที่สูงขึ้น 3) การพัฒนา การเล่นหมากล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจกฎ ความหมาย ทักษะการเล่นหมากล้อม ประสบการณ์ที่มากขึ้น และมีระดับฝีมือหมากล้อมที่สูงขึ้น

Article Details

How to Cite
พาณิชย์วรกุล พ. (2021). การพัฒนาทักษะการเล่นหมากล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครหลวง “อุดมรัชต์วิทยา” ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 218–229. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251646
บท
บทความวิจัย

References

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์. (2555). CEO โลกตะวันออก. กรุงเทพมหานคร: สยามอินเตอร์บุ๊ค.

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ และ สุรพล อินทรเทศ. (2560). ก้าวแรกสู่หมากล้อม. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2556). “การสอนให้คิดและสร้างสรรค์โครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ด้วยปัญญา.”. วารสารศึกษาศาสตร์, 24(1), 1-15.

ดวงจันทร์ วรคามิน, และคณะ. (2559). การศึกษาความสามารถในการคิดและการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์กรุงเทพมหานคร.

บางกอกอินเตอร์เทรนเม้นท์. (2556). ม.มหิดลเผยผลวิจัยการเล่นหมากล้อมช่วยเสริมทักษะชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก http://www.thaitv3.com/ข่าวด่วน/123335/ม-มหิดลเผยผลวิจัยการเล่นหมากล้อมช่วยเสริมทักษะชีวิต.html

มติ ทาเจริญศักดิ์. (2560). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมในการเล่นหมากล้อม และ ผลของการเล่นหมากล้อมต่อการพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลาสลักษณ์ ชัววลลี และคณะ. (2552). หมากล้อมกับการกล่อมเกลาเยาวชน. ใน โครงการวิจัยย่อยกีฬาหมากล้อมกับลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย. (2558). ทูตจีนแนะทหารมะกันเล่น. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2558 จาก http://www.Thiago.org/ทูตจีน-แนะทหารมะกันเล่น/#more-936

อัญชลี ชยานุวัตร. (2544). แนวคิดและกระบวนการเรียนรู. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์ดีชัย จำกัด.

Bangkok Entertainment. (2013). Playing Go games Support Life skills of Research Mahido universities. Retrieved March 10, 2015, from http://www.thaitv3.com/ข่าวด่วน/123335/ม-มหิดลเผยผลวิจัยการเล่นหมากล้อมช่วยเสริมทักษะชีวิต.html

Carter, M. J. et al. (2015). Symbolic interactionism. Sociopedia.isa, 1(1), 1-17.

Ross, P. E. (2006). The Expert Mind. In Scientific American. New York: Scientific American.