การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อให้เกิดประโยชน์ ทำให้หน่วยงานหรือองค์การมีความเจริญก้าวหน้าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ทำให้บุคคลมีกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ และออกแบบงาน กระบวนการจัดสรรประเภทของงานเพื่อให้ได้มาซึ่งพนักงานที่มีคุณภาพตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร 2) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการจัดการเพื่อให้หน่อยงานมีความเหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการขององค์กรทั้งปัจจุบัน และอนาคต 3) การสรรหา และการคัดเลือก กระบวนการที่จะทำให้องค์กรมีพนักงานที่มีศักยภาพตรงตามความต้องการ 4) การฝึกอบรม และการพัฒนา กระบวนการที่ช่วยให้องค์กรมีการเติบโตอย่างมั่นคง และพัฒนาที่ยั่งยืน 5) การบริหารผลการปฏิบัติงาน กระบวนการที่จะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าการทำงาน และผลการปฏิบัติงาน 6) การบริหารค่าตอบแทน กระบวนการที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถค่าตอบแทน เช่น เงินเดือน สวัสดิการ หรือผลประโยชน์อื่น ๆ จะช่วยในเรื่องของขวัญ และกำลังใจ และ 7) แรงงานสัมพันธ์กระบวนการที่ช่วยลดข้อขัดแย้ง และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กร ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติการรวมไปถึงกลุ่มผู้ปฏิบัติการด้วยกันเองก็ได้ หลักพุทธธรรมที่ใช้บูรณาการต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธได้นำหลักกุศลกรรมบถ 10 เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนามนุษย์ในปัจจุบัน เพราะว่าเป็นหลักธรรมที่ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และเกิดสันติสุขเกิดร่วมกัน ลดปัญหาของสังคม และของประเทศชาติที่มีแต่ความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลว่าหลักกุศลกรรมบถ 10 ประการ ครอบคลุมการพัฒนามนุษย์ให้ดีทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านวาจา และด้านจิตใจ
Article Details
References
เชาว์ โรจนแสง. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หน่วยที่1 - 7, (พิมพ์ครั้งที่ 3) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. จังหวัดนนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา. (2561). ความสำคัญของการวิจัยทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(2), 121-36.
พระอธิการประมวล อธิปญฺโญ (จันทรประทักษ์). (2563). หลักกุศลกรรมบถ 10 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารบัณฺฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 32-44.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกล บุญสิน. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. จังหวัดเชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมบัติ กุสุมาวลี. (2559). HR 4.0 TRENDS and MOVE ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @ Thailand 4.0 คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2564 จาก https://jobdst.com/index.php?option=com_content&view=article&id=456&Itemid=136
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์: หลักการและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร: เวิลด์เทรดประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไท. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อนุวัต กระสังข์. (2546). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามแนวพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวทางสู่ความสำเร็จขององค์การ. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 64-77.
Gilley J. W. et al. (2002). Principles of HumanResource Development. (2nd ed.). Reading, MA: Perseus.