ศึกษาการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

วิฑูร สิมะประเสริฐ
พระสมุห์ธนภัทร ธนภทฺโท (ทิพย์วงษ์)
ไพรัตน์ ฉิมหาด
สุชาติ ใหมอ่อน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ วิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน และวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 227 คน ซึ่งได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.63) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมการออมเงินชุมชน (gif.latex?\bar{x} = 3.86) ค่าเฉลี่ยมากสุด และด้านสวัสดิการชุมชน (gif.latex?\bar{x} = 3.50) มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด 2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พบว่า ควรสร้างทางให้สมาชิกได้ตัดสินใจเลือกออมเงินและการกู้เงินของสมาชิกต้องมีกรรมการพิจารณา ตรวจสอบและต้องแสดงแผนการใช้จ่ายเงินประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งเพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มีความสะดวกและทันสมัย ควรแนะนำการวางแผนการใช้จ่ายเงินและการต่อยอดพัฒนาอาชีพเพื่อเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและควรมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการแก่สมาชิก รวมไปถึงการส่งเสริมสนับสนุนการตั้งกลุ่มอาชีพของสมาชิกเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน

Article Details

How to Cite
สิมะประเสริฐ ว., ธนภทฺโท (ทิพย์วงษ์) พ., ฉิมหาด ไ., & ใหมอ่อน ส. (2021). ศึกษาการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 103–117. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251628
บท
บทความวิจัย

References

ชุติมณฑน์ วงษ์คำหาร. (2559). ความสำเร็จในการนำนโยบายการยกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา สถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณฐชน วงษ์ขำ. (2560). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา กองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). (2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก หน้า 82 (30 ธันวาคม 2559).

ปรีดา เพชรยอดศรี. (2544). บันทึกการประชุมหมู่บ้าน (เอกสารอัดสำเนา). ปัตตานี: ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4.

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1. (12 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีด้านส่งเสริมการออมเงินชุมชน. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 2. (13 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ด้านส่งเสริมการออมเงินชุมชน. (วิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 4. (12 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีด้านการให้สินเชื่อแก่สมาชิก. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 5. (12 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีด้านการให้สินเชื่อแก่สมาชิก. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 6. (12 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีจังหวัดปัตตานีด้านการรับฝากเงินชุมชน. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 7. (13 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ด้านการให้คำปรึกษาทางด้านการเงิน. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 8. (13 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีด้านสวัสดิการชุมชน. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 9. (13 สิงหาคม 2563). ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนบ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ด้านการให้คำปรึกษาทางด้านการเงิน. (นายวิฑูร สิมะประเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)

พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก หน้า 50 (30 เมษายน 2562).

วันชัย ธรรมสัจการ และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนของสถาบันการเงินชุมชนบ้านเขาดี จังหวัดชุมพร. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 20(2), 69-70.

ศศิชา หมดมลทิล. (2562). ยกระดับองค์กรการเงินชุมชนด้วย “พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน”. เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2562 จาก https://www.gsb.or.th/

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. (2549). หลักการพัฒนากองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สุรชัย กังวล. (2558). การศึกษาความเข้มแข็งและการวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสถาบันการเงินชุมชนในเขตภาคเหนือ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 74-84.