การประเมินทักษะการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินทักษะการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 19 คน และทีมการศึกษาชั้นเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเลย จำนวน 4 คน การวิจัยในระยะที่ 1 เป็นการสอนและสังเกตชั้นเรียนโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ระยะที่ 2 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การคูณในแนวตั้ง จำนวน 7 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง แบบบันทึกการสังเกต ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ พบว่า ทีมการศึกษาชั้นเรียนมีการประเมินทักษะการคิดของนักเรียน ดังนี้ ในขั้นการร่วมมือกันวางแผนการสอน ได้ร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ เนื้อหาสาระ จุดประสงค์ สถานการณ์ปัญหา การคาดการณ์แนวคิดของนักเรียน เครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน และตำแหน่งที่จะประเมิน ซึ่งมีการคาดการณ์แนวคิดของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย ในขั้นการสอนด้วยวิธีการแบบเปิดและร่วมสังเกตการสอน มีการประเมินทักษะการคิดผ่านการสังเกตแนวคิดของนักเรียนในขณะที่กำลังแก้ปัญหา ซึ่งนักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตนเองและมีแนวคิดที่หลากหลาย และในขั้นการร่วมมือกันสะท้อนผลการสอน มีการสะท้อนผลเกี่ยวกับแนวคิดของนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ตรงตามที่ได้คาดการณ์ไว้ และมองเห็นความยุ่งยากของนักเรียน อีกทั้งสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการสอนครั้งต่อไปได้อีกด้วย
Article Details
References
. (2560). วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาในบริบทของการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ใน เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการศึกษาในโครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
. (2561). คณิตศาสตร์สำหรับระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2561). นวัตกรรมการประเมินการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประกอบหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายการสอนปี 2561. โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
ศิริรัตน์ ชาวนา. (2555). การประเมินของครูเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สดใส ศรีกุตา. (2557). การใช้การประเมินระหว่างสอนของครูเพื่อปรับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร”. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
Grant P. W. (1993). Assessing Student Performance: Exploring the Purpose and Limits of Testing. San Francisco, California: Jossey - Bass.
Isoda, M. & Katagiri, S. (2012). Mathematical Thinking: How to Develop it in the Classroom. Japan: World Scientific.
John, B. & Geoff, T. (2013). Thinking Skills Critical Thinking and Problem Solving Second edition. Italy: L.E.G.O. S.p.A.
Lorna M. E. (2003). Assessment as learning: Using classroom assessment to maximize student learning. Thousand Oaks, California: Corwin.
. (2013). Assessment as learning: Using classroom assessment to maximize student learning – second edition. Thousand Oaks, California: Corwin.
The Partnership for 21st Century Learning. (2007). 21st Century Skills Assessment. Retrieved October 23, 2562, from https://snazlan.files.wordpress.com/2017/11/21st-century-skills_assessment.pdf
. (2015). P21 Framework Definitions. Retrieved October 23, 2562, from https://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_Definitions_New_Logo_2015_9pgs.pdf