หลักสูตรท้องถิ่นในแง่มุมของการสื่อสาร: เครื่องมือการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ กล่าวถึง การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาถือเป็นการวางรากฐานสำคัญแก่ผู้เรียน จึงควรมีทั้งรายวิชาหลักที่ทุกคนมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ และรายวิชาเสริมหรือวิชาเพิ่มเติมที่แต่ละบุคคลมีความสนใจเรียนรู้เฉพาะเรื่อง คณะผู้เขียนขอนำเสนอแง่มุมของหลักสูตรท้องถิ่น หรือรายวิชาที่เน้นการเรียนการสอนเรื่องราวเฉพาะถิ่น โดยเฉพาะในด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งหากไม่ได้รับการสืบทอดผ่านผู้สอนที่อาจเป็นครูหรือปราชญ์ชาวบ้านไปยังผู้เรียนซึ่งเป็นเยาวชน ก็อาจเกิดการสูญหายได้ หลักสูตรท้องถิ่นในแง่มุมของการสื่อสาร จึงเป็นทั้งสารหรือเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ตลอดจนเป็นช่องทางการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สำคัญ ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมทั้งจากสถาบันการศึกษา ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นควรประกอบไปด้วย การศึกษาข้อมูลชุมชน และค้นหาอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเพื่อใช้ในการสื่อสารชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบและประเมินผล และการใช้การสื่อสารเป็นตัวชี้ให้เห็นความสำคัญ และส่งเสริมของการเรียนรู้ของชุมชน สำหรับข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาและสื่อสารหลักสูตรท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อใช้ในชุมชนนั้น ควรมีการพัฒนาผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกชุมชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ควรมีการจัดกิจกรรมสื่อสารศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเปิดพื้นที่ให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายในชุมชนและภายนอกชุมชน
Article Details
References
ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2559). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาทอผ้าไหม. วารสารวิจัยและพัฒนา, 11(พิเศษ), 173-182.
พงษ์สันติ์ ตันหยง และคณะ. (2554). การพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 6(2), 68-90.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). ทักษะ 7 C ของครู 4.0 PLC & Log book. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2550). หลักสูตรท้องถิ่น. สาระจากภาคีองค์กรลุ่มแม่น้ำชีมูลโขง, 1(2), 52-32.
มานะ ขุนวีช่วย และคณะ. (2563). คนพรุ: เอกสารประกอบหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนวัดบ่อล้อ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พิมพ์ครั้งที่ 2. จังหวัดนครศรีธรรมราช: กรีนโซน อินเตอร์ 2001.
รุ่งเรือง ราชมณี และคณะ. (2555). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบลายผ้ามัดหมี่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยโส้บ้านโพนจาน จังหวัดนครพนม. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 241-255.
ศกร พรหมทา และเพิ่มเกียรติ ชมวัฒนา. (2559). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์, 44(2), 183-201.
หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองการพิมพ์.