ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู 2) ศึกษาความผูกพันในองค์การของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับความผูกพันในองค์การของครู 4) ค้นหาปัจจัยที่ดีที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู และสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันในองค์การของครู เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 313 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่ และมอร์แกน โดยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันในองค์การของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันกับความผูกพันในองค์การของครู พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.433 - 0.605 4) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านองค์การและการจัดการ (X6) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (X4) และปัจจัยด้านความก้าวหน้าในการทำงาน (X1) ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.694 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 48.20 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.912
Article Details
References
กนกวรรณ ศรีทองสุก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทำงานโดยมีความเชื่ออำนาจในการควบคุม ภายในเป็นตัวแปรกำกับ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: เลขาธิการสภาการศึกษา.
กัญจน์ภัส ชูผล. (2559). ความผูกพันต่อองค์การคุณภาพชีวิตการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานขายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
กัลยกร สังขชาติ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของกำลังพล กรมทหารพรานที่ 42 ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 154-169.
จีรนุช เกลียวทอง และดร.อังศุธร ศรีสุทธิสอาด. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในที่ทำงานกับความพึงพอใจในการทำงานกรณีศึกษาพนักงานธนาคารออมสินในสังกัดเขตเลยและเขตหนองบัวลำภู. ใน รายงานวิจัยกลุ่มวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ฉัตรภัทร อุปธิ และคณะ. (2561). ปัจจัยองค์การที่สัมพันธ์กับผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงราย. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1487-1502.
ยุพา กิจส่งเสริมกุล และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2561). ความผูกพันต่อองค์การครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, (10)1, 321-337.
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์. (2561). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ใน เขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 121-144.
ศิริวรรณ จันรจนา และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 160-174.
ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2558). ปัญหาขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กแก้ไขอย่างไรดี. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2563 จาก https://tdri.or.th/2015/08/insufficient-teachers-in-small-schools-2/
ศุภษร พงษ์เสถียรศักดิ์. (2556). ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรทางการศึกษา. ใน รายงานวิจัยการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สถิรพร เชาวน์ชัย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(1), 165-168.
สุขุมาภรณ์ บุญช่วยเหลือ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอนในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดระยอง. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุชน ทิพย์ทิพากร, และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กรณีศึกษา : สถานประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 143-158.
สุชาย ทะสุวรรณ์, และคณะ. (2562). พุทธวิธีเชิงบูรณาการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจของทหารกองประจำการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 210-227.
สุพจน์ เทียมปโยธร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน รายงานวิจัยสาขาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2437-2449.
สุรีภรณ์ นามอุตวงษ์. (2558). สุรีภรณ์ นามอุตวงษ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และ ความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ: กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement andantecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18.