การศึกษาองค์ประกอบแอปพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคสำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบแอปพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สำหรับการซื้อขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 250 คน โดยเลือกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ค่าทางสถิติที่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 188 คน ร้อยละ 75.2 มีอายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 127 คน ร้อยละ 50.8 มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 115 คน ร้อยละ 46 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 161 คน ร้อยละ 64.4 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน จำนวน 62 คน ร้อยละ 24.8 2) ความต้องการองค์ประกอบแอปพลิเคชั่น ในภาพรวมอยู่ในระดับที่มีความต้องการมาก ( = 4.10, S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับที่มีความต้องการมากในทุกด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (
= 4.26, S.D. = 0.64) 2.2) ด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ (
= 4.15, S.D. = 0.68) 2.3) ด้านการส่งเสริมการใช้และประชาสัมพันธ์ (
= 4.12, S.D. = 0.77) 2.4) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (
= 4.09, S.D. = 0.75) 2.5) ด้านการให้บริการโดยตรงต่อผู้บริโภค (
= 4.09, S.D. = 0.76) 2.6) ด้านการใช้งาน (
= 4.03, S.D. = 0.66) และ 2.7) ด้านราคา (
= 4.02, S.D. = 0.77)
Article Details
References
ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปะการจัดการ, 1(2), 75-76.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). การวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาผลผลิตเกษตรอินทรีย์. ใน เอกสารประกอบการประชุมเครือข่ายอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชนจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2563. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ชนิภา ช่วยระดม. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่าน Food Panda Applications ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 43-55.
เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศ ตามหลักการวงจรการพัฒนาระบบ SDLC เพื่อเพิ่มขีดความที่สามารถทางการตลาด ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมชุมชนจังหวัดสุรินทร์. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
นิคม ลนขุนทด และคณะ. (2563). การสำรวจความต้องการข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผักอินทรีย์ของผู้บริโภค. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์" ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
นิภาพร มิ่งสินธ์ และคณะ. (2561). แอพพลิเคชั่น ค้นหา ร้านอาหารรอบสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดยโสธรผ่านระบบดาวเทียมบอกพิกัด. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รมิตา สิงหเสรี. (2560). สุรินทร์จัดโครงการจัดทำมาตรฐานสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวหอมมะลิสุรินทร์เพื่อสร้างมาตรฐาน ปรับกลยุทธ์ สู่ระดับสากล. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก: http://www.tnews.co.th/contents/322917
วราภรณ์ เลาหะสัมพันธพร. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้าในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุนันทา ตระกูลสิทธิศรี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อและความเต็มใจจ่าย ในการซื้อสินค้าเสื้อผ้าผู้หญิงจากร้านค้าในเฟซบุคของคนในกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรวิสา งามสรรพ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการซื้อสินค้าออนไลน์ (E-Shopping) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัษฎา วรรณกายนต์. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศตามกรอบแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เพื่อการค้าของเกษตรกรที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ในจังหวัดสุรินทร์. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Bauboniene, Z. & Guleviciute, G. (2015). E-Commerce Factors Influencing Consumers’Online Shopping Decision. Social technologies Mykolo Romerio University, 5(1), 74-81.