การรับรู้ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่ง ในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นาตยา ดวงประทุม

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาระดับการรับรู้ส่วนบุคคล ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาและการรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 152 คน สุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการรับรู้ส่วนบุคคลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 52.60 รองลงมามีการรับรู้ส่วนบุคคลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 46.70 และการรับรู้ส่วนบุคคลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 0.70 เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.39, S.D. = 0.70) ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.49) ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.45, S.D. = 0.52) และด้านการรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.05, S.D. = 0.57) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ดวงประทุม น. (2021). การรับรู้ส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแห่งหนึ่ง ในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 188–199. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/251161
บท
บทความวิจัย

References

ชัญญานุช ไพรวงษ์ และคณะ. (2560). การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 107-116.

ณัฐนันท์ คำพิริยะพงษ์ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2560). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 67-83.

ทศพล ดวงแก้ว และพัชรินทร์ สิรสุนทร. (2560). การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ของ Marshall H. Becker ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 101-113.

ธาริณี พังจุนันท์ และนิตยา พันธุเวทย์. (2563). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2563 จาก www.thaincd.com/document/ file/download/.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. (2563). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวช ปฏิบัติทั่วไป. เรียกใช้เมื่อ 3 กันยายน 2563 จาก www.thaihypertension.org /files/GL%20HT% 202015.pdf

สุกัญญา ลิ้มรังสรรค์ และพักตร์วิภา สุวรรณพรหม. (2556). แบบจำลองการอธิบายเรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการใช้ยาโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยโรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 8(2), 66-77.

สุภาวดี พรมแจ่ม และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี, 45(3), 561-577.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และคณะ. (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(2), 43-52.

Best, J. (1981). Research in Education. (4th ed). London: Prentice-Hall International.

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6th ed). New York: John Wiley & Sons.

Rosenstock, I. et al. (1994). The health belief model and HIV risk behavior. In DiClemente, R. & Peterson, J. (Ed), Preventing AIDS: Theories and methods of behavioral interventions. New York: Plenum Press.