กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บริบทของสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไป การขับเคลื่อนทางสังคมเติบโตอย่างก้าวกระโดด สังคมโลกถูกเปิด การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของคนในสังคมถูกกล่าวถึงถูกเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัด ในทุก ๆ ด้าน ด้านการศึกษาก็เช่นกัน ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัดการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะในห้องเรียน แต่เกิดขึ้นได้บนสมาร์ทโฟน เป็นต้น ทักษะสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ผู้คนในสังคมวางแผนที่จะประสบความสำเร็จในระยะสั้น ๆ ทำให้สังคมไทยหรือสังคมโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว การใช้ชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนตาม แต่บริบทของการบริหารการศึกษาในสังคมไทยยังอยู่ที่เดิม สอนวิชาที่มากด้วยจำนวนวิชา รายชั่วโมงที่เหมือนเดิม และการวัดและประเมินผลยังเหมือนเดิม ผ่านไป 30 ปี ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เด็กยุคใหม่ที่ได้รับการพัฒนาอย่างยุคเดิม ช่วงเวลานี้เป็นจึงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของผู้บริหารการศึกษากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป การศึกษาไม่มีขั้นบันใดอีกต่อไป อยากจะเรียนรู้อะไรก็เรียนรู้ได้ ไม่จำเพาะต้องผ่านชั้นนี้ก่อนถึงจะได้เรียนสิ่งนี้ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ผู้บริหารในยุคของคนรุ่นใหม่ศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิธีการ อย่างเข้าอกเข้าใจกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ในขณะเดียวกันก็ไม่ลืมการจัดการศึกษาหรือการบริการวิชาการแก่คนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อการพยุงพหุสังคมระหว่าง กลุ่มผู้ที่เข้าใจเทคโนโลยีเป็นอย่างดีและพร้อมที่จะรับการขับเคลื่อน และอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้ที่กำลังจะเรียนรู้เทคโนโลยี (กลุ่มผู้สูงวัย) สามารถประกอบอาชีพ ดำรงตนอยู่ในสังคมของศตวรรษที่ 21 ร่วมกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม และมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). ยุทธศาสตร์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2559-2562. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2559). เทคโนโลยีเพื่อการประเมินการเรียนรู้ภาษาสำหรับผุ้เรียนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Joural, Silapakorn University, 9(3), 421-435.
ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา. (2562). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(73), 19-30.
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564: ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ หน้า 65 (29 ธันวาคม 2559).
วิภาพรรณ พินลา. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับครูในยุคศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1443-1458.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานสรุปผล การดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563, ประเด็นที่ 12 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ หน้า 443.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2560. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2843-2854.
อเนก ตรีภูมิ และคณะ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทัศนป์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน (DBAE). วารสารความหลากหลายทางวัฒนธรรม, 14(32), 293-301.
Fraisse, G. et al. (2002). Development of a simplified and accurate building model based on electrical analogy. Energy and Buildings, 34(10), 1017-1031.
Harvard Online Courses. (2021). Systematic Approaches to Policy Design. Retrieved February 2, 2021, from https://online-learning.harvard.edu/course/systematic-approaches-policy-design?delta=0