การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมและแบบปกติ 4) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยชุดกิจกรรมและแบบปกติ และ 5) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้อง ห้องเรียนละ 34 คน รวม 68 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมสูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมสูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ผลเจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จิราภรณ์ คงหนองลาน. (2557). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แบบวงจรการเรียนรู้ 7 ขั้น(7E) รายวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(3), 21-37.
ดวงพร หมวกสกุล. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้7 ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร AL - NURบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 18(1), 95-107.
ทัศนีย์ อนันตภูมิ. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เรื่องเศษส่วนและทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 159-171.
ธัญชนก โหน่งกดหลด. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับการใช้เทคนิคเกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 450-463.
เนตรดาว สร้อยแสง. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยเน้นการใช้ประจักษ์พยาน ทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 153-164.
ประถมพร โคตา. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปราณี คำภิระ. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่องระบบต่อมไร้ท่อเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พัทธมน วิริยะธรรม. (2559). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณเคมี ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายวิชาเคมี หน่วยการเรียนรู้ ปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 113-126.
วรรณพร ยิ้มฉาย. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 95-107.
ศิริอร นพกิจ. (2561). ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงานเป็นทีม และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(9), 207-219.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สทศ. ประชุมชี้แจงศูนย์สอบ O - NET ป.6 และ ม.3 ปีการศึกษา 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2563 จาก https://www.niets.or.th/th/content/view/14257
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. เรียกใช้เมื่อ 31 มีนาคม 2563 จาก https://pisathailand.ipst. ac.th/news-12/
อรัญนี ลอยหา. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ประกอบผังมโนทัศน์ เรื่องของแข็ง ของเหลวก๊าซ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาเคมีศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
Deniz, G. (2018). High School Students’ Critical Thinking Related to Their MetacognitiveSelf - Regulation and Physics Self - Efficacy Beliefs. Journal of Education and Training Studies, 6(4), 125-130.
Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. Journal of Research in Science Teaching, 7(6), 56-59.
Turgut, U. (2016). The Effect of 7E Model on Conceptual Success of Students in The Unit of Electromagnetism. European Journal of Physics Education, 7(3), 1-37.