แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 140 คน เครืองมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม ลักษณะมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 เพื่อหาแนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = 3.62, S.D. = 0.933) ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ด้านกองทุนประกันสังคม (
= 3.68, S.D. = 0.895) ลำดับที่ 2 ด้านบ้านพักของพนักงานมหาวิทยาลัยนครพนม (
= 3.67, S.D. = 0.910) ลำดับที่ 3 ด้านกองทุนพัฒนาบุคลากร (
= 3.63, S.D. = 0.937) ลำดับที่ 4 ด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (
= 3.63, S.D. = 0.937) ลำดับที่ 5 สวัสดิการและประโยชน์ตอบแทนอื่น (
= 3.61, S.D. = 0.926) และลำดับที่ 6 ด้านสหกรณ์ออมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยนครพนม (
= 3.51 , S.D. = 0.955) ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม เรียงลำดับตามสภาพการจัดสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จากค่าเฉลี่ยน้อยไปหามาก โดยสวัสดิการฯ ด้านสหกรณ์ออมทรัพย์มีผลการประเมินเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 3.51
Article Details
References
จุฑารัตน์ ศรีใย. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณกานดา ธัญเจริญ. (2558). การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการของบุคลากรกรมการบินพลเรือน. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
บรรจบ วงษ์ขันธ์. (2560). ความต้องการสวัสดิการของบุคลากรในโรงเรียนอุบลวิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 4(2), 125-160.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
เพ็ญศิริ แก้วมณี. (2553). ความพึงพอใจในค่าตอบแทนของพนักงาน บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์ เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน). ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยสาส์น.
สลักจิตร ภู่ประกร. (2555). ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โสภา ทองอ่อน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษา พระนครศรีอยุธยา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ๊นตริ๊งเฮ้าส์.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc - Graw Hill.