ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่: จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต

Main Article Content

ศิริสุดา แสงทอง

บทคัดย่อ

          ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการฉีกรัฐธรรมนูญนับครั้งไม่ถ้วนในสังคมไทยเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ก่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตลอดจนการเคลื่อนไหวทางสังคม การปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นหนทางสู่เสรีภาพจนนำไปสู่ความเสมอภาค ภราดรภาพ และอิสรภาพในแง่ใดแง่หนึ่ง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาสังคมเพื่อการร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาไปสู่ความต้องการอย่างแท้จริง โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ คนรุ่นใหม่ในสังคมปัจจุบันตื่นตัวกับการเมืองมากขึ้น อนึ่งเพราะความก้าวไกลของเทคโนโลยี การเปิดประตูไปสู่โลกภายนอกหรือสังคมสาธารณะมากขึ้น ตลอดจนการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ที่มากขึ้น ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย เพราะคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยต่อไปในอนาคต คลื่นความตื่นตัวของคนรุ่นใหม่เหล่านี้คือกลไกหลักในการพัฒนาประชาธิปไตยอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติต่อไป นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองไทยที่ดีขึ้น มุมมองประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคตของคนรุ่นใหม่ก็คือการสร้างสังคมใหม่โดยการก้าวข้ามผ่านคนรุ่นเก่า โดยที่สังคมใหม่ของพวกเขาอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ที่รวมถึงการสร้างการเมืองใหม่ภายใต้แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยใหม่ คนรุ่นใหม่จึงนับเป็นตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้สังคมตื่นตัวทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคตอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
แสงทอง ศ. (2021). ความตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่: จุดยืนประชาธิปไตยใหม่แห่งอนาคต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 286–297. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250508
บท
บทความวิชาการ

References

กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2563). คนรุ่นใหม่กับกิจกรรมทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_2408961.

ข่าวสดออนไลน์. (2563). ชวนรู้จัก 'ฮ่องกงโมเดล' คืออะไร ทำไมถูกนำมาเปรียบเทียบกับม็อบไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_5125000

เควิน ฮิววิสัน. (2552). ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ : การต่อสู้ของอนุรักษนิยมในการเมืองไทย (Thai - Style Democracy: A Conservative Struggle for Thailand’s Politics). เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://prachatai.com/english/node/1292.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2556). แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ: บทวิเคราะห์การเมืองและประชาธิปไตยสยามไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน. กรุงเทพมหานคร: สมมติ.

นรพัชร เสาธงทอง. (2555). ระชาธิปไตยแบบไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University. เรียกใช้เมื่อ 31 มกราคม 2564 จาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/AJ/PU/article/view/54589

นัฐพงษ์ ป้องแสง. (2563). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยที่แท้จริง. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563 จาก https://isaanrecord.com/2020/03/10/the-democracy-for-new-generations/

บุญธรรม เลิศสุขีเกษม. (2543). บทบาทของประชาชนต่อการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรีดี พนมยงค์. (2517). ประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญเบื้องต้น กับการร่างรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นีติเวชช์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). การเมืองไทยและประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มิสเตอร์ก็อปปี้.

สติธร ธนานิธิโชติ. (2563). บทบาทคนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน ความหวังหรือความฝัน. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563 จาก https://prachatai.com/journal /2018/10/.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2551). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพมหานคร: พี.เพรส.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2559). การปฏิรูปการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทย.สถาบันพระปกเกล้า. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563 จาก http://kpi.ac.th/media/ pdf/M7_139.pdf.

Cheibub J. A. (2007). Presidentialism, Parliamentarism and Democracy. New York: Cambridge University Press.

Dahl, R. A. (1989). Democracy and Its Critics. New Haven: Yale University Press.

Lebnak S. (2563). “OK, Boomer” มีมฮิตระดับโลก ที่การเมืองไทยหนียังไงก็ไม่พ้น. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563 จาก https://thematter.co/thinkers/ok-boomer-and-conflict-between-generation/91134

Voice Online. (2563). เสียงสะท้อนส่วนหนึ่งของ 'New Voter' กว่า 7 ล้านคน กับ 'การเลือกตั้งครั้งแรก. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2563 จาก https://voicetv.co.th/read/PwFDTDQ_K