การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน ในกลุ่มจังหวัดล้านนา

Main Article Content

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา
อภิชา สุขจีน
พัฒน์นรี อัฐวงศ์
วราภรณ์ ดวงแสง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคเอกสาร ลงพื้นที่ภาคสนาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนานั้น เป็นกระบวนการสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมกลุ่ม สร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนได้รับมาตรฐานชุมชน พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและส่งเสริมด้านการตลาดที่จะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนผ้าทั้ง 3 ประเภทต้องอาศัยการออกแบบ การพัฒนา และเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับพื้นฐานและศักยภาพของชุมชน รวมทั้งทรัพยากร ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น องค์กรภาครัฐและเอกชนเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในท้องถิ่น ดูแลส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มอาชีพชุมชนให้มีศักยภาพในเชิงธุรกิจ ทำให้สามารถพัฒนาชุมชนได้อย่างรวดเร็วตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยจะให้ความสำคัญกับการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน มาผสมผสานกับศิลปะสร้างสรรค์แบบใหม่ลวดลายใหม่ บอกเล่าเรื่องราวผ่านสินค้า หรือเรียกว่า “Story Product” ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของคนสมัยใหม่ ที่ตรงกับความต้องการ จนนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น และชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง

Article Details

How to Cite
สุวรรณาภา ฉ., สุขจีน อ., อัฐวงศ์ พ., & ดวงแสง ว. (2021). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนำไปสู่การยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน ในกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 185–197. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250497
บท
บทความวิจัย

References

จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2554). แนวคิดหลังสมัยการย้อนสู่โลกแห่งภูมิปัญญา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 13(1), 20-23.

จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง. (2563). การจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเชื่อมโยงสู่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดแพร่: กรณีการทำผ้าหม้อห้อมของชาวไทยพวน. วารสารพัฒนาสังคม, 22(1), 69-81.

ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2557). ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 71-73.

ตุณท์ ชมชื่น และสมชายใจบาน. (2558). การเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอกระเหรี่ยง ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: กรณีชุมชนตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(2), 203-214.

ปิยะวัน เพชรหมี และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดเพชรบูรณ์สู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ. (2563). ผ้าชนเผ่าในล้านนา: รูปแบบ ความสวยงาม และคุณค่าของหัตถกรรมคนชายขอบ. วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 20(1), 26-39.

ศศิพร ต่ายคำ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดราชบุรี. วารสาร Veridian E - Journal, Silpakorn University, 8(1), 606-632.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2557). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายชาวเขา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จํากัด.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดแพร่. (2562). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดแพร่ประจำปี 2562 . จังหวัดแพร่: เมืองแพร่การพิมพ์ จำกัด.

อิสริยาภรณ์ ไชยสูง. (2560). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอกระเหรี่ยงบ้านพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.