ผลของการใช้นวัตกรรมการสร้างหัวนมต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีหัวนมสั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมการสร้างหัวนมต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีหัวนมสั้น โดยเปรียบเทียบความยาวของหัวนมและคะแนนการเข้าเต้า ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีหัวนมสั้น ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 30 รายคัดเลือกแบบเจาะจง ระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 เครื่องมือคือนวัตกรรมการสร้างหัวนม และแบบบันทึกผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความยาวเฉลี่ยของหัวนมทั้งสองข้างในระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ใช้นวัตกรรมมากกว่าระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ไม่ใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและความยาวเฉลี่ยของหัวนมทั้งสองข้างในวันจำหน่ายที่ไม่ใช้นวัตกรรมมากกว่าระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ไม่ใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการเข้าเต้าระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ใช้นวัตกรรมมากกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการเข้าเต้าในระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ไม่ใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและค่าเฉลี่ยคะแนนการเข้าเต้าในวันจำหน่ายที่ไม่ใช้นวัตกรรมมากกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการเข้าเต้าในระยะแรกรับหลังผ่าตัดที่ไม่ใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผลของการใช้นวัตกรรมการสร้างหัวนม ช่วยทำให้หัวนมยาวขึ้น คะแนนการเข้าเต้าเพิ่มขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีหัวนมสั้นประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Article Details
References
Chinapandhu, P. et al. (2018). Effects of The Making Nipple Innovation to the Successful of Breastfeeding in postpartum Mothers with Short Nipples. Journal of The Royal Thai ArmyNurses, 19(3), 185-194. (in Thai).
Jaingam, S. et al. (2011). The effectiveness of nipple plaster to solve short nipple problem in postpartum woman at Phaholpolpayuhasena Hospital. Kanchanaburi: Phaholpolpayuhasena Hospital. (inThai).
National Statistical Office. (2013). Situation survey of children and women in 2012, in Thailand. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).
Puapornpong, P. (2014). Breastfeeding assessment. Journal of Medicine and Health Sciences, 21(1), 4-15.
Puapornpong, P. et.al. editor. (2016). Clinical Practice of breastfeeding. Bangkok: Beyond enterprise. (in Thai).
Sangpeng ,L. et al. (2011). The effects of using teaching program for breastfeeding. Researchpaper, Nakhon Si Thammarathospital. (in Thai).
Sawasdivorn, S. et al. editors. (2012). The breastfeeding atlas: Thai edition. Bangkok: Unioncreation Ltd. (in Thai).
Siriwanarangsun. P. (2015). The role of the Ministry of Public Health in promotingbreastfeeding.The 5 th national breastfeeding conference proceeding on September,2 - 4, 2015, Montean riverside hotel, Bangkok. Bangkok: Print and More Ltd. 30 - 3.(in Thai).
Tangsuksan, P. (2011). Breastfeeding Promotion in Pregnant women. Journal of Public Health Nursing, 25(3), 103-19.
World Health Organization. (2017). Guideline: protecting, promoting and supportingbreastfeeding in facilities providing maternity and newborn services. Geneva: WHO Document Production Service.