การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี หน่วยการเรียนรู้ พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ศึกษา การพัฒนารูปแบบการสอนและค่าดัชนีประสิทธิผล 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบสอน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลตามเครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี ต้องการให้มีการทบทวนความรู้ก่อนเรียน เรียนเป็นกลุ่ม เวลาในการคิด มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม สรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง อภิปรายภายในกลุ่ม และกลุ่มใหญ่ระหว่างครูกับนักเรียน ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอทั้งความรู้และทักษะกระบวนการและการคิด 2) รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 83.05/82.52 และ 83.10/82.88 ตามลำดับ และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 0.76 และ 0.77 ตามลำดับ 3) ผลการใช้รูปแบบการสอน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.51 และ S.D. = 0.50)

Article Details

How to Cite
ธรรมชาติ พ. (2021). การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี หน่วยการเรียนรู้ พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 89–103. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/250488
บท
บทความวิจัย

References

กุลศิริ บุญอาษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 35-42.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม 2562).

ยามีล๊ะ อาบู. (2550). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (6 เมษายน 2560).

วิดาด หะยีตาเฮร์. (2556). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักจรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังคมพหุวัฒนธรรม. ใน วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วีรญา นรารัตน์. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2544). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical thinking). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อับดุลเลาะ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมีที่มีต่อแบบจำลองทางความคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.